หน้าแรก > ข่าวและกิจกรรม > Index > Images > Stories > News > Lasal School > บริการทางการแพทย์ > หู-คอ-จมูก > โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
วันอังคารที่ 27 กันยายน 2554 เวลา 17:22 น.
มะเร็งต่อมไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อ อยู่ด้านหน้า ของลำคอทั้งซ้าย (กลีบซ้าย) และขวา (กลีบขวา) โดยอยู่บริเวณใต้ลูกกระเดือก และมีเนื้อเยื่อไทรอยด์เชื่อมระหว่างต่อมกลีบซ้ายและกลีบขวา ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ในการ ผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด และรวมถึงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆด้วย ถ้าหาก ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ ร่างกายจะเกิดความผิดปกติขึ้น เช่น คอพอก คอพอกเป็นพิษ (โรคของต่อมไทรอยด์) และโรคมะเร็งต่อม ไทรอยด์
โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ คือโรคมะเร็งที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ โดยเกิดได้กับต่อมไทรอยด์ทั้งกลีบซ้าย และกลีบขวา รวมทั้งในเนื้อ เยื่อที่เชื่อมต่อมทั้งสองข้างด้วย มะเร็งต่อมไทรอยด์สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
จะกล่าวถึงเฉพาะ “โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดที่จับกินแร่รังสีไอโอดีน” เท่านั้น เพราะพบได้สูงที่สุดเกือบทั้งหมดของโรค มะเร็งต่อมไทรอยด์ ซึ่งโรคมะเร็งชนิดนี้ มีอัตราการหายจากโรคที่ดีกว่ามะเร็งชนิดอื่นๆ จะเรียกโรคมะเร็งชนิดนี้ว่า “มะเร็งต่อมไทรอยด์” สำหรับมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดอื่นๆนั้นจะมีการดูแลรักษาที่แตกต่างกันในแต่ละชนิด ดังนั้นหากเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดอื่นๆที่ไม่ใช่ในกลุ่มที่จะกล่าวถึงในบทนี้ ซึ่งเป็น มะเร็งที่พบได้เพียงประปราย ให้ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาต่อไป โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นโรคที่พบได้ในทุกช่วงอายุ มี รายงานพบได้ตั้ง แต่อายุ 10 ปี จนถึงอายุ 80 ปี และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีรายงานว่าในประชากร 100,000 คน พบมะเร็งต่อมไทรอยด์ในเพศหญิง ประมาณ 6 คน และพบในเพศชายประมาณ 2 คน
สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคมะเร็งต่อม ไทรอยด์ แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ
3. ระดับของเกลือแร่ไอโอดีนในอาหาร ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของฮอร์ โมนไทรอยด์ โดยบางการศึกษาพบว่า ในถิ่นที่มีภาวะขาดไอโอดีน จะพบอุบัติ การณ์ของโรคมะเร็งต่อม ไทรอยด์ชนิด Follicular เพิ่มขึ้น และในถิ่นที่มีการเสริมเกลือแร่ไอโอดีนในอาหาร และ/หรือน้ำดื่ม จะพบอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Papillary เพิ่มขึ้น
อาการโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
1. อาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์นั้น ไม่มีอาการเฉพาะ แต่มักมีอาการคล้ายโรคปุ่มเนื้อของต่อมไทรอยด์ (โรคของต่อมไทรอยด์) หรือคล้ายโรคคอพอก คือ มีต่อมไทรอยด์โต หรือมีก้อนที่คอ (ที่ ต่อมไทรอยด์) คลำได้ อาจเป็นก้อนเดียว หรือหลายก้อนก็ได้ โดยมักจะไม่มีอาการเจ็บ หรือปวด 2. มีเสียงแหบลงเนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งโตจนกดเบียดทับ หรือลุก ลามเส้นประสาทกล่องเสียงที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ 3. มีอาการหายใจลำบากและ/หรือกลืนอาหาร ลำบากเนื่องจากก้อนมะเร็งโตจนกดเบียดทับ และ/หรือลุกลามเข้าหลอดลม และ/หรือหลอดอาหาร ซึ่งทั้งสองเป็นอวัยวะที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์เช่นกัน 4. อาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต คลำได้หากเซลล์มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำ เหลือง นอกจากนั้น หากโรคมะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ก็อาจมี อาการตามอวัยวะนั้นๆที่โรคแพร่กระจายไปได้ เช่น มะเร็งกระจายไปกระดูก อาจมีอาการปวดตามตำแหน่งที่โรคแพร่กระจายไป
การวินิจฉัย
แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ได้จาก
โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มีกี่ระยะ การจัดระยะโรคของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์นั้น ต่างจากการจัดระยะของโรค มะเร็งอื่นๆ โดยมีการนำอายุของผู้ป่วยมาจัดเป็นระยะของโรค เพราะความรุนแรงของโรคขึ้นกับอายุผู้ป่วยด้วย ซึ่งระยะของโรคมะเร็งของต่อมไทรอยด์เป็นดังนี้
ในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 45 ปี แบ่งโรคเป็น 2 ระยะ คือ
ในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ
*อาการที่แสดงไว้เพื่อเป็นคำแนะนำในเบื้องต้น เท่านั้น |
การรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ในการดูแลรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์นั้น มีการรักษาหลักๆร่วมกันอยู่ 3 วิธี คือ 1. การผ่าตัด เป็นการรักษาที่ต้องทำเป็นอันดับแรก ซึ่งการผ่าตัดที่นิยมทำมากที่สุดคือ ผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกทั้ง 2 ข้าง เพราะมีข้อดีมากกว่าผ่าตัดเอาต่อม ไทรอยด์ออกเพียงบางส่วน คือ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการกินแร่รังสี (น้ำแร่รังสีไอโอดีน) ในการรักษาต่อ เนื่องหลังผ่าตัดไปแล้ว เพื่อให้ รังสีช่วยทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลือในบริเวณต่อมไทรอยด์จากที่ไม่สามารถผ่าตัดออกหมดได้ และให้รังสีทำลายเซลล์ มะเร็งที่อาจแพร่กระจายอยู่ในอวัยวะต่างๆทั่วร่างกายเพื่อ ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรค และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจเลือดดูสารมะเร็ง ที่แพทย์ใช้เฝ้าระวังการกลับ เป็นซ้ำของโรค การผ่าตัดวิธีนี้ ยังช่วยเพิ่มอัตราการหายจากโรคให้สูงขึ้นด้วย ดังนั้นในผู้ป่วยบางรายที่ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเพียงบางส่วนในครั้งแรกเนื่องจากวินิจ ฉัยว่า ก้อนเนื้อเป็น เพียงเนื้องอก แต่เมื่อทราบผลชิ้นเนื้อหลังผ่าตัดจากการตรวจทางพยาธิ ว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ จึงอาจต้องผ่าตัดอีก ครั้งเพื่อเอาต่อมไท รอยด์ออกทั้ง 2 กลีบ 2. การกินแร่รังสีไอโอดีน ซึ่งแร่รังสีไอโอดีนนี้ เป็นสารกัมมันตรังสีที่ได้ รับการเตรียมให้อยู่ในรูปของแคปซูล หรือในรูปของสารน้ำ เพื่อให้ผู้ป่วยกินได้ง่าย โดยแร่รังสีไอโอดีนเหล่านั้น จะไปรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่อาจหลงเหลืออยู่หลังจากผ่าตัด ทั้งที่บริเวณลำคอ และเนื้อเยื่อใกล้เคียง นอกจากนั้น ยังสามารถช่วยรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ที่แพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่นๆได้ด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด กระดูก ซึ่งในการรักษาด้วยการกินแร่รังสีฯนั้น อาจกินเพียงครั้งเดียว หรือมากกว่า 1 ครั้งตามความรุนแรงของโรค และดุลพินิจของ แพทย์ 3. การให้ยาฮอร์โมนไทรอยด์กินอย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิต เพื่อให้ฮอร์โมนชดเชยกับร่างกาย หลังจากผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกทั้ง 2 กลีบแล้ว และยังช่วยควบคุมโรคมะเร็งต่อม ไทรอยด์ไม่ให้กลับเป็นซ้ำได้อีกด้วย ดังนั้นผู้ป่วยควรต้องรับประทานยาไทรอยด์ฮอร์โมนอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ที่ทำการรักษา ไม่ควรขาดยา อนึ่ง ในผู้ป่วยบางราย อาจต้องได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีรักษา ร่วมด้วย เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคแพร่กระจายไป กระดูก สมอง หรือผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคแพร่กระจายไป ยังอวัยวะอื่นๆที่ไม่สามารถให้การรักษาด้วยการกินแร่รังสีไอโอดีน หรือฉายรังสีได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และดุลพินิจของแพทย์
การรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มีผลข้างเคียงอย่างไร
ความรุนแรงโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มักมีความรุนแรงของโรคต่ำ เมื่อได้รับการรักษาแล้วมีโอกาสหายขาด หรืออยู่ได้ถึง 10-20 ปี สูงถึงประมาณ 80–90% แต่ หากพบโรคนี้ในผู้ชาย และในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป มักมีความรุนแรงของโรคสูงกว่าผู้ป่วยกลุ่มอายุน้อยกว่า 45 ปี
คำแนะนำ วิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อม ไทรอยด์ให้พบตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ดังนั้นจึงควรสังเกต และคลำลำคอของตนเองว่า มี ก้อนเนื้อผิดปกติ หรือคลำพบต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอหรือไม่ หากพบความผิดปกติเหล่านี้ ควร รีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาแต่เนิ่นๆ
|
อาการโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ 1. อาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์นั้น ไม่มีอาการเฉพาะ แต่มักมีอาการคล้ายโรคปุ่มเนื้อของต่อมไทรอยด์ (โรคของต่อมไทรอยด์) หรือคล้ายโรคคอพอก คือ มีต่อมไทรอยด์โต หรือมีก้อนที่คอ (ที่ ต่อมไทรอยด์) คลำได้ อาจเป็นก้อนเดียว หรือหลายก้อนก็ได้ โดยมักจะไม่มีอาการเจ็บ หรือปวด 2. มีเสียงแหบลงเนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งโตจนกดเบียดทับ หรือลุก ลามเส้นประสาทกล่องเสียงที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ 3. มีอาการหายใจลำบากและ/หรือกลืนอาหาร ลำบากเนื่องจากก้อนมะเร็งโตจนกดเบียดทับ และ/หรือลุกลามเข้าหลอดลม และ/หรือหลอดอาหาร ซึ่งทั้งสองเป็นอวัยวะที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์เช่นกัน 4. อาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต คลำได้หากเซลล์มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำ เหลือง นอกจากนั้น หากโรคมะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ก็อาจมี อาการตามอวัยวะนั้นๆที่โรคแพร่กระจายไปได้ เช่น มะเร็งกระจายไปกระดูก อาจมีอาการปวดตามตำแหน่งที่โรคแพร่กระจายไป การป้องกันโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งต่อมไท รอยด์ แต่มีข้อแนะนำ เพราะอาจลดโอกาสเกิดโรคนี้ได้บ้าง คือ 1. การหลีกเลี่ยง สาเหตุต่างๆที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมดังกล่าวแล้ว ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น หลีก เลี่ยงการสัมผัสสารกัมมันตรังสี 2.ควรรับประทานอาหารที่มีไอโอดีน (อาหารทะเล เกลือ แกง น้ำปลา อาหาร/ขนมขบเคี้ยว รสเค็ม) อย่างเหมาะสม ไม่กินมาก หรือน้อยจนเกินไป 3. หากมีก้อนที่บริเวณด้านหน้าลำคอ ที่เคลื่อนที่ขึ้นลงตามการกลืนควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและให้การรักษา |