หน้าแรก > เกี่ยวกับเรา > ข่าวและกิจกรรม > Index > Images > Stories > News > Hcu Visit > บริการทางการแพทย์ > เวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสมอง > หลอดเลือดสมองตีบ
หลอดเลือดสมองตีบ
วันอังคารที่ 27 กันยายน 2554 เวลา 17:22 น.
เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของประชากรโลก ส่วนในไทยพบว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในผู้หญิงและเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 ในผู้ชาย นอกจากนั้นโรคหลอดเลือดสมองเป็นต้นเหตุของการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งส่งผลให้เกิดความพิการหลงเหลืออยู่ ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้ ต้องพึ่งพาผู้อื่นซึ่งความพิการส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตสภาพจิตใจ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว สาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
หลอดเลือดในร่างกายที่ทำหน้าที่เป็นท่อที่ส่งเลือดที่มีอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นผนังหลอดเลือดจะเสื่อมไปตามวัย โรคบางโรค เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง
การอักเสบของหลอดเลือดสมอง โรคเลือดและโรคมะเร็ง ล้วนเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ส่วนโรคหลอดเลือดแตกมีสาเหตุจากโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดสมองที่ผิดปกติแต่กำเนิด
อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ใบหน้าหรือแขนขา ข้างใดข้างหนึ่ง อ่อนแรง/ขยับไม่ได้ทันทีทันใด (Face&Arm)พูดไม่ชัด พูดไม่ออก หรือพูดด้วยแล้วไม่สนใจ ไม่เข้าใจทันทีทันใด(speech)อาการเตือน 3 อาการนี้เป็นอาการสำคัญของโรคหลอดเลือดสมองอุดตันชนิดเฉียบพลัน ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที หากเกิดอาการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อาการนี้ และอาการที่เกิดไม่เกิน 3 ชั่วโมง การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดจะได้ผลดี นอกจากนั้นยังมีอาการเตือนที่แสดงถึงความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง ดังนี้ ตามัวข้างมดข้างหนึ่ง มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อนหรือมีอาการคล้ายม่านบังตาที่เป็นทันทีทันใด อาการเดินเซ เดินลำบาก ทรงตัวไม่ได้ รวมถึงอาการปวดศีรษะรุนแรงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน อาเจียนหรือซึม ไม่รู้สึกตัว หากเกิดอาการเหล่านี้ควรไปโรงพยาบาลทันที เพื่อการตรวจรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที *อาการที่แสดงไว้เพื่อเป็นคำแนะนำในเบื้องต้น เท่านั้น |
สัญญาณอาการโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมอง สามารถมีอาการได้หลายแบบ ซึ่งก็จะเป็นไปตามบริเวณของสมองที่เลี้ยงด้วยหลอดเลือดต่างๆ กัน แต่มีข้อสังเกตอย่างหนึ่ง คือ อาการที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองจะต้องเกิดขึ้นโดยเฉียบพลัน อาการของโรคหลอดเลือดสมองที่พบบ่อยคือ 1.อาการอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีกของร่างกายทันทีทันใด 2.อาการตามัว หรือมองไม่เห็นทันที โดยเฉพาะที่เป็นข้างเดียว หรืออาจเห็นแสงที่ผิดปกติหรือเห็นภาพซ้อน 3.ภาวะที่มีอาการชาหรืออ่อนแรงของใบหน้าซีกใดซีกหนื่ง 4.ปากเบี้ยว 5.พูดตะกุกตะกัก พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก หรือไม่เข้าใจคำพูดทันทีทันใด 6.ปวดศีรษะรุนแรงฉับพลันชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน 7.เวียนศีรษะ บ้านหมุน เดินลำบาก หรือเป็นลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีอาการดังกล่าวมาแล้วร่วมด้วย 8.กลืนอาหารสำลักบ่อยๆ การรักษา 1.แพทย์ก็จะซักประวัติตรวจร่างกาย เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ 2.การทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เพื่อให้แน่ใจว่าโรคหลอดเลือดสมองนั้นเกิดจากหลอดเลือดอุดตัน หรือมีเลือดออกในสมอง การรักษา 2 ภาวะนี้แตกต่างกัน ๐ ถ้าเกิดจากการที่มีเลือดออกในสมอง ถ้าเป็นขนาดเล็ก อยู่ลึกในเนื้อสมอง และผู้ป่วยไม่ซึม อาการคงที่ตลอด ในกรณีนี้อาจไม่ต้องผ่าตัดเพื่อเอาเลือดออก รอให้เลือดถูกดูดซับกลับไปเองได้ ส่วนในผู้ป่วยที่มีขนาดก้อนเลือดใหญ่ ผู้ป่วยซึมลงหรืออาการทางสมองเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้อาจต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเลือดออก ๐ ถ้าเกิดจากหลอดเลือดอุดตัน ถ้าผู้ป่วยมาพบแพทย์เร็วกว่า 4.5 ชั่วโมง จะมีการให้ยาละลายลิ่มเลือด โดยผู้ป่วยจะต้องไม่มีข้อห้ามในการให้ยาชนิดนี้ แต่ถ้ามาพบแพทย์หลัง 4.5 ชั่วโมง หรืออยู่ในที่ที่ไม่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ แพทย์ก็จะเลือกให้ยาต้านเกล็ดเลือด ส่วนในผู้ป่วยที่พบว่าสาเหตุของการอุดตันของหลอดเลือดสมองเกิดจากก้อนเลือดที่หัวใจหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง แพทย์ก็จะเลือกให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดแทน 3.การทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น คำแนะนำในการปฏิบัติตัว 1.การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน และมีปริมาณเพียงพอ ลดอาหารเค็มหรือเกลือมาก รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว เช่น มันหมู มันไก่ กะทิมะพร้าว รวมทั้งอาหารหวานจัด การดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอก็เป็นสิ่งจำเป็นต่อการมีสุขภาพดี 2.การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่าทำแบบหักโหมและนานๆ ในครั้งหนึ่งๆ 3.งดสูบบุหรี่ นิโคตินในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดของสมองและหัวใจตีบตันได้ง่าย 4.ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ถ้าพบปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ต้องรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด 5.การควบคุมน้ำหนัก อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย 6.รู้จักผ่อนคลายความตึงเครียดและพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำจิตใจให้ปลอดโปร่งแจ่มใส 7.หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง 8.ในรายที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอยู่แล้ว จะมีโอกาสเป็นซ้ำมากกว่าคนปกติ ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยาเองเด็ดขาด 9.เมื่อมีอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง ต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ทันท่วงที |