ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดไส้เลื่อนก็คือ ผนังหน้าท้องขาดความแข็งแรง โดยสาเหตุต่างๆกันไป ได้แก่
1 ผิดปกติตั้งแต่เกิด บางคนมีช่องทางระหว่างช่องท้องกับลูกอัณฑะ(ซึ่งคนปกติจะปิดสนิท) บางคนขาดกล้ามเนื้อหน้าท้องบางตัว หรือมีความอ่อนแอของผนังหน้าท้องตั้งแต่เกิด ทั้งนี้แม้แต่จะเป็นแต่เกิด แต่อาจจะมาก่อเรื่องเมื่ออายุมากแล้วก็ได้
2 การเสื่อมลงตามอายุ พบในผู้สูงอายุ ซึ่งกล้ามเนื้อผนังหน้าท้องอ่อนกำลังลง
3 อุบัติเหตุที่หน้าท้อง ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลงหรือเกิดความเสียหายต่อผนังหน้าท้อง
4 แรงดันในช่องท้องสูง การยกของหนัก ไอบ่อย มีการเบ่งอุจจาระหรือปัสสาวะเป็นประจำ จะทำให้แรงดันในท้องเพิ่มขึ้นและค่อยๆทำให้เกิดความอ่อนแอของผนังหน้าท้อง มากขึ้นอย่างช้าๆ

5 หลังการผ่าตัดช่องท้อง เนื้อเยื่อที่ถูกผ่าจะขาดความยืดหยุ่นและเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดของหน้าท้อง หากช่วงพักฟื้นเกิดเหตุแทรกซ้อนกับแผล ก็จะทำให้เกิดไส้เลื่อนที่แผลผ่าตัดได้มากขึ้น

ปัจจัยเหล่านี้ถ้ามีเพียงข้อเดียวมักไม่เกิดอะไรขึ้น แต่หากเป็นพร้อมกันหลายๆข้อ ก็จะยิ่งเสี่ยงที่จะเกิดไส้เลื่อนได้มากขึ้น
ชนิดของไส้เลื่อน   ถ้าแบ่งตามตำแหน่งที่ตรวจพบ จะแบ่งได้เป็น
1) ไส้เลื่อนลงอัณฑะ 2) ไส้เลื่อนผนังหน้าท้องส่วนล่าง 3) ไส้เลื่อนโคนขา 4) ไส้เลื่อนแผลผ่าตัด 


อาการ

อาการในสายตาของแพทย์มีสองกลุ่มคือแบบหนักกับแบบเบา
แบบเบาๆ ก็คือ พบก้อนเคลื่อนเข้าออก หรือพบก้อนที่ค้างตุงไม่เลื่อนไปมา อาจจะไม่ปวดเลยหรือปวดมากก็ได้
แบบหนักๆ ก็อาการเหมือนกลุ่มเบาๆ แต่ว่ามีอาการของลำไส้อุดตันหรือพบการอักเสบของลำไส้และช่องท้อง โดยมากมักพบในกลุ่มที่ก้อนเลื่อนมาแล้วไม่กลับเข้าที่และมีอาการปวด
การที่แบ่งเป็นสองกลุ่มนี้ก็เพื่อเลือกว่าจะต้องผ่าตัดในทันทีเลยหรือไม่ หรือยังรอได้ ส่วนขนาดหรือลักษณะไม่ได้เป็นตัวตัดสิน เนื่องจากพบว่าส่วนใหญ่แล้วในก้อนไส้เ


*อาการที่แสดงไว้เพื่อเป็นคำแนะนำในเบื้องต้น เท่านั้นลื่อนที่เห็นตุงๆ ไม่ใช่ไส้ แต่เป็นพังผืดโอเมนตัม Omentum เลื่อนลงมาปิด ซึ่งไส้เลื่อนที่เกิดจากพวกนี้มักไม่ก่ออันตราย ยังไม่จำเป็นต้องผ่าตัดในทันที

การวินิจฉัยโรค ไส้เลื่อน
แพทย์จะวินิจฉัยโรค ไส้เลื่อน จากอาการแสดงและสิ่งตรวจพบ ได้แก่ อาการมีก้อนตุงโผล่ๆ ผลุบๆ ก้อนมีลักษณะนุ่มๆ หยุ่นๆ ไม่เจ็บ ในรายที่ไม่แน่ใจว่าเป็น ไส้เลื่อน  แพทย์อาจส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ เป็นต้น

1 ผ่าตัดไส้เลื่อน ความจริงผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อน ถ้าเป็นไปได้ควรจะผ่าตัด โดยเฉพาะในรายที่ไส้มีการเลื่อนเข้าเลื่อนออก  เมื่อผ่าไปแล้ว แพทย์ก็จะทำการตัดและเย็บปิดช่องทางที่ผิดปกติและใช้เทคนิคการผ่าตัดเพื่อ เสริมความแข็งแรงให้บริเวณนั้น หรืออาจจะใส่วัตถุสังเคราะห์รูปตาข่ายไปพยุงส่วนนั้นให้แข็งแรง

2 ดันไส้เลื่อนกลับ ในบางรายที่มารพ.ด้วยก้อนมีขนาดโตขึ้นและเจ็บปวด ในเบื้องต้นแพทย์จะให้ยาลดปวดและจัดท่าเพื่อดันไส้เลื่อนให้กลับเข้าไป
3  ในผู้ป่วยบางรายมีโรคประจำตัวหรือสภาวะร่างกายที่ไม่เหมาะสมต่อการผ่าตัด   ก็จะไม่ได้รับการผ่าตัด แต่ก็จะมีการแนะนำวิธีปฏิบัติตัวเพื่อลดการเป็นหรือลดการเกิดอาการ

การผ่าตัดไส้เลื่อนแบบมาตรฐาน

 การผ่าตัดแบบมาตรฐานมีหลักการที่จะเข้าไปผูกตัดถุงไส้เลื่อนที่ยื่นออกมา จากนั้นก็ทำการเย็บซ่อมผนังหน้าท้องส่วนที่อ่อนแอให้แข็งแรงขึ้น เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การเย็บซ่อมอาจใช้การเย็บดึงเนื้อเยื่อข้างเคียงเข้าหากัน ซึ่งวิธีนี้ทำได้ง่าย แต่เนื้อเยื่อที่ถูกเย็บเข้ามาหากันจะตึงมาก ผู้ป่วยมักมีความเจ็บปวดหลังผ่าตัด กลับไปทำงาน เดินตัวตรงตามปกติได้ช้า และเนื้อเยื่อที่ถูกเย็บอาจตึงมากและฉีกออกจากกัน ผนังหน้าท้องกลับมาอ่อนแอเหมือนเดิม แนวโน้มในปัจจุบันนิยมการเย็บซ่อมโดยไม่เกิดแรงตึงมากกว่า ซึ่งอาจใช้แผ่นตะแกรงสังเคราะห์ หรือการเย็บถักด้วยไหมเย็บ หลังผ่าตัดผู้ป่วยมักมีความเจ็บปวดน้อยกว่า กลับไปทำงาน เดินได้ตามปกติได้เร็ว วิธีหลังนี้มีข้อเสียตรงที่มีการใส่วัสดุแปลกปลอมเข้าในร่างกาย จึงมักต้องให้ยาปฏิชีวนะกันการติดเชื้อ และมีค่าใช้จ่ายเรื่องวัสดุสังเคราะห์หากเลือกใช้แผลผ่าตัดเป็นแผลแนวขาหนีบยาวประมาณ 4-5 cm.

การผ่าตัดไส้เลื่อนแบบใช้กล้องส่อง

เป็นการผ่าตัดเพื่อทำการซ่อมผนังหน้าท้องด้วยกล้องส่อง โดยมากจะใช้แผลขนาดเล็ก 3 แผล โดยแผลที่สะดือที่จะใส่กล้องยาว 1 cm. และแผลที่ใส่เครื่องมือยาว 0.5 cm. จากนั้นก็ทำการเลาะด้านหลังของผนังช่องท้อง ซึ่งจะมองเห็นรูไส้เลื่อนจากทางด้านหลังได้อย่างชัดเจน แล้วใช้แผ่นตะแกรงสังเคราะห์ปูคลุมกล้ามเนื้อ ตรึงด้วยหมุดเย็บ 3-4 ตัว เป็นอันเสร็จ วิธีนี้มีข้อเสียตรงที่ต้องใช้เครื่องมือราคาแพง และศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญ ต้องใช้วัสดุสังเคราะห์และยังต้องรอดูผลชัดเจนในระยะยาว จึงมักยังทำได้ไม่แพร่หลาย และเลือกใช้ในรายที่เป็นทั้งสองข้าง หรือในรายที่เป็นซ้ำหลังการทำผ่าตัดแบบมาตรฐาน ปัจจุบัน เริ่มมีการทำในผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนข้างเดียว ที่ไม่เคยผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยต้องการการรักษาวิธีนี้
ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดไส้เลื่อน
พบได้บ้าง ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง เช่น การมีลิ่มเลือดบริเวณใต้แผลผ่าตัด ซึ่งเกิดจากเลือดออกจากหลอดเลือดเล็ก ๆ ขณะทำการเลาะเนื้อเยื่อ, การติดเชื้อข

องแผลผ่าตัด, การบาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น ท่อนำน้ำเชื้ออสุจิ, เส้นประสาทขนาดเล็กที่มารับความรู้สึกจากผิวหนัง ซึ่งทำให้มีการเจ็บแปลบหรือชา เป็นต้น

ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้อง

1.    ผู้ป่วยจะเสียเลือด น้อยกว่า เนื่องจากมีขนาดเล็กมาก
2.    แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กกว่าเดิม เป็นเพียงรูเจาะเล็ก ๆ (5-10 มม.)
3.    ความสวยงามมากกว่าเนื่องจากศัลยแพทย์พยายามซ่อนตำแหน่งการเจาะเปิดหน้าท้องเอาไว้
4.    มีอาการปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่า เนื่องจากขนาดแผลเล็กมาก
5.    มีการฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้เร็ว
6.    สามารถกลับไปทำงานได้รวดเร็ว เนื่องจากการฟื้นตัวที่เร็วกว่า
7.    ผู้ป่วยจะใช้เวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน และใช้เวลาพักฟื้นที่บ้านอีกเพียง 5-7 วัน ก่อนไปทำงานได้ตามปกติ
8.    แพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดของตำแหน่งที่จะทำการผ่าตัดได้ชัดเจน เนื่องจากเป็นการดูด้วยกล้องขยายกำลังสูงต่างจากการผ่าตัดแบบเดิมซึ่งเป็นการดูด้วยตาเปล่า

การป้องกัน

การป้องกันเพื่อไม่ให้เป็นซ้ำในช่วงที่รอผ่าตัดไส้เลื่อนเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งที่เราพอจะป้องกันได้ทั้งในรายที่เป็นแล้วและในรายที่ยังไม่เป็นก็คือ การลดความดันในช่องท้องจากการกระทำต่างๆ คือ
1 อย่าไอ – ในที่นี้คือไม่ไปรับสิ่งที่เสี่ยงต่อการไอ เช่น หยุดการสูบบุหรี่ อย่าให้เป็นหวัด ถ้าไอควรจิบน้ำอุ่นบ่อยๆ
2 อย่ายกของหนัก – การยกของหนักจะทำให้เกิดการเบ่ง และเกิดไส้เลื่อนซ้ำได้
3 อย่าเบ่งอุจจาระ – ก็คือควรกินอาหารที่มีกากใยเพื่อช่วยในการระบาย เพราะหากท้องผูกจนต้องเบ่งอุจจาระ ก็สามารถเกิดไส้เลื่อนซ้ำได้
4 อย่าเบ่งปัสสาวะ – ในรายที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นต่อมลูกหมากโตหรืออายุมาก อาจจะต้องเบ่งปัสสาวะบ่อย ทางแก้คือไปพบแพทย์ในเรื่องดังกล่าวเพื่อตรวจและรับการรักษาเพื่อให้ถ่าย ปัสสาวะคล่องขึ้น