หน้าแรก > เกี่ยวกับเรา > ข่าวและกิจกรรม > Index > Images > Stories > News > Sam Siri Wutthi > บริการทางการแพทย์ > อายุรกรรม > ท้องผูก
ท้องผูก
วันอังคารที่ 27 กันยายน 2554 เวลา 17:22 น.
เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป มักเกิดจากการกินอาหารที่มีกากใยน้อย และขาดการออกกำลังกาย ถ้ามีอาการท้องผูกเป็นประจำ อาจบ่งชี้ว่าจะมีปัญหารุนแรงเกี่ยวกับสุขภาพในระยะยาวได้ ถ้าลำไส้ใหญ่ทำงานเป็นปกติ จะช่วยให้ขับถ่ายดี และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้มักเข้าใจผิดกันว่าคนเราควรถ่ายทุกวัน ถ้าวันไหนไม่ถ่ายถือว่าท้องผูก แต่ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องถ่ายทุกวัน บางคนอาจถ่ายวันละมากกว่า 1 ครั้ง หรือบางคนอาจถ่าย 3 วันครั้งก็ยังถือว่าลำไส้ทำงานปกติ ท้องผูกมีลักษณะอาการ 2 แบบ คือ วิธีป้องกันท้องผูกที่ดีที่สุดเรา ควรกินอาหารที่มีใยทั้ง 2 ชนิดนี้ตามธรรมชาติให้มาก และหลากหลาย สำหรับผู้เริ่มต้น ก่อนอื่นให้พยายามดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร (8-10 แก้ว) และหันมากินข้าวที่ขัดสีน้อยอย่างข้าวกล้องแทนข้าวขัดขาว แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณข้าวกล้องให้มากขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าจะคุ้นกับการกินข้าวกล้องอย่างเดียวในตอนแรก ๆ อาจรู้สึกไม่สบายท้อง มีลมในท้องหรือท้องอืดมาก ส่วนขนมปังก็เลือกชนิดที่ทำจากแป้งไม่ขัดสีหรือขนมปังโฮลวีตแทนขนมปังขาว หรืออาจกินสลับกันไปมานอกจากนี้ยังอาจเติมรำข้าวสำเร็จรูป 2 ช้อนชาลงในโยเกิร์ต มูสลี่ หรือธัญพืชพร้อมบริโภค สำหรับเป็นอาหารมื้อเช้าทุกวันติดต่อกัน 1 สัปดาห์ แล้วเพิ่มรำข้าวเป็น 3 ช้อนชาในสัปดาห์ต่อมา ทั้งนี้ควรกินผลไม้สดให้ได้วันละ 4-5 ส่วน (ผลไม้ 1 ส่วน เช่น กล้วยน้ำว้า 1 ลูก หรือมะละกอ 10 คำ) และผักต่าง ๆ อีกประมาณ 4-6 ทัพพี
อย่างไรก็ตามคนแต่ละคนอาจต้องการใยอาหารในปริมาณที่ไม่เท่ากัน พยายามสังเกตว่าร่างกายตนเอง ต้องการใยอาหารมากเท่าไรจึงจะเพียงพอกับความต้องการ ไม่ควรพึ่งใยอาหารจากรำข้าวสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมสารอาหารบางอย่างในระยะยาวได้ ควรปรึกษาแพทย์ ถ้ายังคงมีอาการท้องผูกเรื้อรังหรือปวดท้องแบบเป็น ๆ หาย ๆ
พึงบริโภคให้มาก |