อาการกลืนลำบาก (Dysphagia) หมายถึง อาการที่ผู้ป่วยมีความรู้สึกผิดปกติในการกลืนอาหาร คือ ต้องใช้เวลาและความพยายามมากขึ้นในการเคลื่อนอาหารหรือของเหลวจากปากให้ผ่านหลอดอาหารไปสู่กระเพาะอาหาร อาการกลืนลำบากนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยในคนสูงอายุ

อาการแสดงที่มีความเกี่ยวข้องกับอาการกลืนลำบาก ประกอบด้วย Dysphagia.jpg
1. รู้สึกเจ็บขณะกลืน(Odynophagia)
2. ไม่สามารถกลืนได้
3. ไม่สามารถเริ่มกลืนได้หรือรู้สึกมีอาหารติดอยู่บริเวณหน้าอก
4. น้ำลายไหล
5. เสียงแหบ
6. อาหารไหลย้อนกลับ
7. แสบหน้าอก
8. กรดไหลย้อน
9. น้ำหนักลด
10.ไอหรือสำลักขณะกลืน

swallowing.gifสาเหตุ
สาเหตุของอาการกลืนลำบาก มีหลากหลายและการรักษาก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุ สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามตำแหน่งที่เกิดอาการกลืนลำบาก ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. อาการกลืนลำบากจากความผิดปกติบริเวณคอหอย หลอดอาหารส่วนบนและการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร
ส่วนบน (Oropharyngeal dysphagia)
1.1 ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบและแตก, โปลิโอ, เนื้องอกในสมอง,  โรคพาร์กินสัน เป็นต้น
1.2  ความผิดปกติทางกายภาพ เช่น กล้ามเนื้อบริเวณคอหอยโป่งพอง (Pharyngeal diverticula), มะเร็ง
1.3  การติดเชื้อ เช่น โรคคอตีบ, ซิฟิลิส
1.4  ความผิดปกติของกระบวนการย่อยสลายในร่างกาย (metabolic cause) เช่น กลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing disease),  
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ (Thyrotoxicosis)
1.5 เกิดตามหลังการรักษาของแพทย์ (Iatrogenic cause) เช่น หลังได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิดหรือการฉายแสง, หลังการกลืน
สารพวกกรดด่าง
2. อาการกลืนลำบากจากความผิดปกติบริเวณหลอดอาหาร, กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง และกระเพาะอาหารส่วนบนที่ติด  กับหลอดอาหาร (Esophageal dysphagia)
2.1 ความผิดปกติทางกายภาพ (Mechanical disorder) เช่น เป็นเนื้องอกในหลอดอาหาร, หลอดอาหารตีบตามหลังการกลืน  กรดด่างหรือฉายแสง, มีพังผืดในหลอดอาหาร (Esophageal web), มีก้อนในทรวงอกกดเบียดหลอดอาหารจากภายนอก, มีวัตถุแปลกปลอมไปอุดในหลอดอาหาร
2.2 ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร เช่น กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างหดรัดตัว (Achalasia), มีการหดตัวทั่วทั้งหลอดอาหาร (Esophageal spasm)
3. อาการกลืนลำบากที่ไม่สามารถอธิบายได้ (Functional dysphagia)
3.1 การกินยาลำบากในบางคน
3.2 รู้สึกไปเองว่ามีก้อนในลำคอ (Globus sensation) : ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนมีอะไรติดอยู่ที่คอตลอดเวลา แม้ไม่ได้กำลังกลืนอาหาร

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
อาการกลืนลำบากถ้าเกิดขึ้นเป็นครั้งๆ อาจไม่ได้มีพยาธิสภาพและไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ เช่น เกิดเวลาเรากลืนอาหารเร็วเกินไปหรือกลืนอาหารคำใหญ่เกินไป ยังไม่ได้เคี้ยวอาหารให้ละเอียด แต่ถ้าอาการกลืนลำบากเกิดขึ้นคงอยู่นาน ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ  ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ :
1. มีอาการหายใจลำบากร่วมด้วย : เกิดจากก้อนในทรวงอกกดที่หลอดอาหารร่วมกับหลอดลม ถ้าเกิดภาวะนี้  ต้องรีบไปห้องฉุกเฉิน
ทันที
2.  ถ้ามีอาการกลืนลำบากมากขึ้นเรื่อยๆ (ตอนแรกเริ่มจากการกลืนข้าวสวยลำบาก แต่ยังพอกลืนข้าวต้มและน้ำได้ จากนั้นเริ่มกลืนข้าวต้มได้ลำบาก กลืนได้แต่น้ำ  อย่างเดียว ในรายที่เป็นมากอาจกลืนไม่ได้เลย แม้กระทั่งน้ำลายตัวเอง) ร่วมกับมีอาการร่วมที่ทำให้สงสัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร คือ มีเบื่ออาหาร/น้ำหนักลด, มีอาหารไหลย้อนจากกระเพาะอาหารขึ้นมาในหลอดอาหารหรืออาเจียน
3. ในผู้ป่วยเด็กที่สงสัยว่าจะปัญหาเกี่ยวกับการกลืน ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษา เนื่องจากเด็กต้องการพลังงานจากอาหารเพื่อการเจริญเติบโต

*อาการที่แสดงไว้เพื่อเป็นคำแนะนำในเบื้องต้น เท่านั้น