หน้าแรก > ข่าวและกิจกรรม > Index > Images > Stories > News > Uniform > บริการทางการแพทย์ > ศัลยกรรมและฉุกเฉิน > โรคมะเร็งปอด
โรคมะเร็งปอด
วันอังคารที่ 27 กันยายน 2554 เวลา 17:22 น.
มะเร็งปอด (Lung Cancer) ในประเทศไทยมะเร็งปอดเป็นโรคที่พบมากและเป็นสาเหตุการตาย ในอันดับ ต้นทั้งในเพศชายและหญิงและอุบัติการณ์โรคกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเพศหญิง มะเร็งปอดมีด้วยกันหลายชนิด ที่พบบ่อยมีอยู่ 2 ชนิด คือ มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก และไม่ใช่เซลลเล์ ก็ ซึ่งไม่ได้หมายถึงขนาดของ “ก้อน” มะเร็งแต่อย่างใด
1.ชนิดอะดีโนคาซิโนมา (adenocarcinoma) พบประมาณ 40% ของคนที่เป็นมะเร็งปอดทั้งหมดที่เป็นผู้ชายและผู้หญิง แม้กระทั่งในรายที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย โดยจะพบเซลลมะเร็งชนิดนี้ได้ที่ต่อมสร้างน้ำเมือกของปอดหรือถุงลม 2.ชนิดสแควมัสคาร์ซิโนมา (squamous carcinoma) หรือ apidermoid carcinoma จะพบไดที่เยื่อบุผิวหลอดลม ประมาณ 30-35% ของคนที่เป็นมะเร็งปอดทั้งหมด โดยเฉพาะในผู้ชายและผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง เกี่ยวข้องอย่างมากกับการสูบบุหรี่ ทำให้ไอมาก อาจไอเป็นเลือดหรือปอดบวม เพราะก้อนเนื้อมะเร็งไปอุดท่อของหลอดลมจนทำให้ไม่สามารถไอเอาเสมหะออกมาได้ 3.ชนิดเซลล์ตัวใหญ่ (Large cell carcinoma) มักจะพบเซลล์ชนิดนี้ที่ผิวนอกของเนื้อปอด บริเวณริมขอบ และแพร่กระจายได้เร็วมาก พบประมาณ 5-15% ของคนที่เป็นมะเร็งปอดทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีมะเร็งชนิดอื่นที่เกิดได้ที่ปอดเช่นกัน เช่น Carcinoid tumors พบไดน้อยประมาณ 1 - 5% ของผู้ป่วยมะเร็งปอด การผ่าตัดเป็นวิธีเดียวเพื่อให้หายขาดในกรณีที่รอยโรค ยังไม่กระจายไปที่อื่น การให้เคมีบำบัดและการฉายรังสีทำเพื่อ บรรเทาอาการของโรคเท่านั้น Malignant Mesothelioma เป็นมะเร็งที่มักเกิดขึ้นที่เยื่อหุ้มปอดด้านในยากต่อการวินิจฉัย ผู้ป่วยมักมีอาการหายใจลำบาก เจ็บผนังหน้าอก เป็นต้น ใยหินหรือแอสเบสตอสเป็นสาเหตุสำคัญ ของการเกิดมะเร็งซึ่งใช้เวลา กว่าจะแสดงอาการ 35-40 ปี จึงมักพบมะเร็งชนิดนี้บ่อยในผู้สูงอายุ และในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง การรักษาในระยะแรกๆ จะใช้วิธีผ่าตัดซึ่งอาจหายขาดได้ สำหรับ ระยะที่ 2-4 มักใช้หลายๆวิธีร่วมกัน รวมทั้งการผ่าตัด เพื่อลดหรือป้องกันภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดเพิ่มขึ้น และเพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็งลงเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น ผู้ป่วยมะเร็งปอด ส่วนใหญ่(80-90%)เกิดจากการสูบบุหรี่จึงสามารถป้องกันได้ ธรรมชาติทาง ชีววิทยาของมะเร็งปอด ทำให้เราพบผู้ป่วย เมื่อเริ่มมีอาการ ในขณะที่โรคอยู่ในระยะลุกลาม และแพร่กระจาย เป็นผลให้ผู้ป่วยประมาณ 90% เสียชีวิตจากโรคมะเร็งภายใน เวลา 1-2 ปี มะเร็งปอดพบมากในคนอายุ 50 -75 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (80%) จะเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ และ ประมาณ 5% จะเป็นผู้ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่น ผู้ที่สูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่นจะมี ความเสี่ยง ต่อ การเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 26% จำนวนมวนของบุหรี่ที่สูบต่อวันและ ชนิดของบุหรี่ที่สูบจะสัมพันธ์กับอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดผู้ที่สูบบุหรี่10-13% จะเกิด มะเร็งปอดภายในเวลา 30-40 ปี อย่างไรก็ตามถ้าเลิกสูบบุหรี่ก็สามารถลดอัตราการเสี่ยง ต่อการเกิดมะเร็งปอดลงเหลือเท่าผู้ไม่สูบบุหรี่ได้ภายในเวลา 10-15 ปี ผู้ที่สูบบุหรี่ และเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปอด
สารก่อมะเร็งที่อาจเป็นสาเหตุของโรคในผู้ป่วย10-15%ซึ่งไม่สูบบุหรี่ ได้แก่ แอสเบสตอส เป็นแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร ผ้าเบรค คลัช ฉนวนความร้อน อุตสาหกรรมสิ่งทอ เหมืองแร่ ผู้ที่เสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการใช้แอสเบสตอสเป็นส่วนประกอบ ระยะเวลาตั้งแต่สัมผัสฝุ่นแอสเบสตอสจนเป็นมะเร็งปอด อาจใช้ เวลา 15–35 ปี ผู้ไม่สูบบุหรี่ แต่ทำงานกับฝุ่นแร่แอสเบสตอส เสี่ยงต่อมะเร็ง ปอดมากกว่าคนทั่ว ไป 5 เท่า ผู้สูบบุหรี่และทำงานกับฝุ่นแร่แอสเบสตอสด้วย เสี่ยงต่อมะเร็งปอดมากกว่า คนทั่วไปถึง 90 เท่า สารก่อมะเร็งอื่น ได้แก่ แร่เรดอน มลภาวะใน อากาศจากอุตสาหกรรมโลหะหนัก ควันมลภาวะในสิ่งแวดล้อม การฉายรังสีเพื่อรักษา มะเร็งชนิดอื่น ก็อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปอดได้โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่ร่วมด้วย นอกจากนี้ ปัจจัยทางพันธุกรรมก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย มะเร็งปอดเป็นโรคที่ตรวจค้นหาในระยะ เริ่มแรกได้ยาก การนำเอาผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (ผู้ชายสูบบุหรี่อายุเกิน 40 ปี) มาตรวจ เสมหะและเอ็กซเรย์ปอดเพื่อพยายามจะลดอัตราการตายจากโรคมะเร็ง พบว่า สามารถพบผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มแรกมากขึ้น แต่ไม่สามารถลดอัตราตายลงได้ การล้มเหลวจากการนี้ เชื่อว่า เนื่องจากมะเร็งปอดแม้จะมีขนาดเล็กก็พบการแพร่กระจายได้สูงมะเร็งปอด มักจะ เริ่มมีอาการเมื่อโรคลุกลามมากแล้ว อาการ 1. ไอแห้งๆ อยู่นานกว่าธรรมดา 2. ไอมีเสมหะ 3. ไอเป็นเลือด แต่เลือดมักออกปนมากับเสมหะ 4. ปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก 5. น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ซีด อ่อนเพลีย 6. เสียงแหบ เพราะมะเร็งลุกลามไปยังประสาทบริเวณกล่องเสียง 7. บวมที่หน้า คอ แขน และอกส่วนบน เนื่องจากมีเลือดดำคั่ง 8. หายใจลำบาก และหอบเหนื่อย เนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ทำให้เนื้อที่ปอดสำหรับหายใจเหลือน้อยลงไม่เพียงพอกับ ความต้องการของร่างกาย 9. กลืนลำบาก เนื่องจากหลอดอาหารถูกกด 10. เจ็บปวด เนื่องจากมะเร็งลุกลามแพร่กระจายไปในกระดูก ผนังอก ฯลฯ 11. อัมพาด เนื่องจากมะเร็งแพร่กระจาย ไปยังสมองหรือไขสันหลัง การวินิจฉัย 1. ถ่ายภาพเอ็กซเรย์ปอด 2. ตรวจเสมหะที่ไอออกมาเพื่อหาเซลล์มะเร็ง 3. ส่องกล้องตรวจดูภายในหลอดลม 4. ขลิบชิ้นเนื้อจากหลอดลมหรือต่อมน้ำเหลือง บริเวณไหปลาร้า เพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา *อาการที่แสดงไว้เพื่อเป็นคำแนะนำในเบื้องต้น เท่านั้น |
การรักษามะเร็งปอด การรักษาโรคมะเร็งปอดมีด้วยกันหลายวิธี ดังนี้ 1.การผ่าตัด การผ่าตัดเอาเนื้อปอดออกดูน่ากลัว แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้ยุ่งยาก จนเกินไป สามารถทำได้ด้วยความปลอดภัย ถ้าศัลยแพทย์นั้นมีความชำนาญ เนื้อปอดมีถึง 2 ข้าง และแต่ละข้างยังมีหลายส่วน ถ้าบางส่วนถูกตัดออกไปหรือ แม้แต่ตัดออกไปทั้งข้าง ผู้ป่วยก็สามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติหลังจาก ที่แผลผ่าตัดหายดีแล้ว และไม่ถือว่าเป็นความพิการแต่อย่างใด 2.การรักษาด้วยรังสีบำบัด จะต้องใช้เวลาประมาณ 1 - 2 เดือน หรือ ประมาณ 20 - 30 แสง ระหว่างการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการไอบ้าง เพราะแสงจากรังสี ที่ฉายไปยังปอด ทำให้ปอดได้รับความระคายเคืองจึงทำให้ไอได้ แต่ แพทย์จะให้ยาระงับอาการไอ การรักษาด้วยรังสีนี้จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย คอแห้ง เบื่ออาหาร โลหิตจาง เพราะรังสีที่ฉายไปทำลายไขกระดูกทำให้การสร้างเม็ดเลือดน้อยลง การพยายามรับประทานอาหารจะช่วยให้ร่างกายมีกำลังที่จะต่อสู้กับโรค ขน หรือผมบริเวณที่ถูกแสงจะร่วง แต่ถ้าไม่ได้ฉายรังสีที่บริเวณศีรษะ ก็จะไม่ทำให้ ศีรษะล้าน ผิวบริเวณที่ถูกรังสีจะมีอาการปวดแสบ ปวดร้อนเสมือนถูกแดดเผา หรือตากแดดนาน ๆ อาการนี้พอหยุด ฉายรังสีไม่นานก็จะเป็นปกติ 3.การรักษาด้วยเคมีบำบัด การรักษาด้วยวิธีนี้ จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก เพราะยาเคมีเป็นยาที่นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ละชนิดมีราคาแพง การรักษา จะต้องให้ยาอยู่หลาย ๆ ครั้ง หรือ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย ส่วนมากจะให้ 6 ครั้ง โดยจะให้เป็นช่วง ๆ เช่น 3 - 4 สัปดาห์ ให้หนึ่งครั้งๆ ละ 4 - 5 วัน อาการ ข้างเคียงก็มีมาก เช่น การอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และผมร่วง อาการคลื่นไส้ อาเจียน สมัยก่อน ผู้ป่วยจะกลัวมาก แต่ในปัจจุบันนี้มียาระงับอาการคลื่นไส้ อาเจียน ที่มีประสิทธิภาพสูง แพทย์จะให้ก่อนที่จะได้รับยาเคมีบำบัด ดังนั้นเรื่อง การอาเจียนจึงไม่ต้องเป็นห่วง สำหรับผมร่วง เมื่อหยุดการรักษาเพียง 1 - 2 เดือน ผมก็จะขึ้นและมักจะสวยกว่าเดิมอีก แต่ในระหว่าง ที่ให้การรักษาอยู่สามารถแก้ไขได้โดยการใส่วิกผมปลอม ก่อนการรักษาในแต่ละวิธี แพทย์ จะอธิบายให้ทราบถึงอาการ หรือความผิดปกติที่จะได้รับหรือเกิดขึ้นระหว่าง การรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าใจ เตรียมร่างกายเตรียมจิตใจให้พร้อม ก่อนที่ จะได้รับ หรือเกิดขึ้นระหว่างการรักษา เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ไม่หยุด หรือหนี การรักษาระหว่างที่ทำการรักษาอยู่ การรักษาแบบตามอาการหรือการรักษาแบบประคับประคอง
เป็นการรักษา ตามอาการคือถ้าปวดก็ให้ยาระงับปวด รับประทานอาหารไม่ได้ก็ให้น้ำเกลือ หรือหายใจไม่เพียงพอก็ให้ออกซิเจน ตามแต่อาการผู้ป่วย ทั้งนี้ก็เพื่อ ไม่ให้ ผู้ป่วยได้รับความทรมาน อัตราการอยู่รอด การอยู่รอดเกิน 5 ปี ของโรคมะเร็งปอดในระยะต่าง ๆ ค่อนข้างต่ำ ยกเว้นระยะที่หนึ่ง และในระยะเดียวกันนี้โรคมะเร็งชนิด Non small cell จะมีอาการอยู่รอดที่ดีกว่า สำหรับการรักษานั้น การรักษาด้วยเคมีบำบัด จะได้ผลดีกว่าการรักษาด้วยรังสี มะเร็งปอดเป็นโรคร้ายที่รักษาให้หายได้ถ้าท่านมาพบแพทย์ในระยะเริ่มแรก และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่าง เคร่งครัด |
อาการของผู้ป่วยมะเร็งปอด 1. ไอแห้งๆ อยู่นานกว่าธรรมดา 2. ไอมีเสมหะ 3. ไอเป็นเลือด แต่เลือดมักออกปนมากับเสมหะ 4. ปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก 5. น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ซีด อ่อนเพลีย การป้องกัน เหตุส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งปอดมีหลายประการ สาเหตุบางอย่างอาจป้องกันได้ยากแต่สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่สืบเนื่องจากการสูบบุหรี่นั้นเป็นสิ่งที่เราอาจป้องกันได้และการไม่สูบบุหรี่ หรือเลิกสูบบุหรี่ จะช่วยลดอัตราการเป็น มะเร็งปอดได้อย่างมาก จะช่วยให้มีสุขภาพสมบูรณ์ปราศจากโรคที่มีสาเหตุจากบุหรี่ นอกจากนั้นยังเป็นผลดีต่อบุคคล ใกล้เคียงตลอดจนต่อเศรษฐกิจส่วนตัว และส่วนรวมด้วย การป้องกัน 1. เลิกสูบบุหรี่ 2. หลีกเลี่ยงการได้รับมลพิษในสิ่งแวดล้อม 3. รับประทานผัก ผลไม้ให้มากขึ้น และอาหารที่มี วิตามินซี วิตามินอี รวมทั้งเซเลเนียม เช่น ข้าวซ้อมมือ รำข้าว และออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาจลด ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด 4. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การดื่มสุราอาจเพิ่มความเสี่ยง ต่อการ เกิดโรคมะเร็งปอดได้
|