โรคหืด 

เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม  เกิดจากหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ ( Bronchial  hyper-responsiveness )ทำให้มีอาการไอ  แน่นหน้าอก  หายใจมีเสียงหวีด หรือหอบเหนื่อย อาการเหล่านี้เกิดขึ้นทันทีเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น  และจะหายเอง  ได้หรือหายเมื่อได้รับยาขยายหลอดลม    จัดเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อย   เป็นๆหายๆ ทำให้คุณภาพชีวิตลดลงตามความรุนแรงของโรค บางรายไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้เช่นคนปกติ ในผู้ป่วยเด็กส่วนหนึ่งยังคุมอาการของโรคไม่ได้  ทำให้ต้องไปตรวจรักษาที่ห้องฉุกเฉินบ่อยๆ

การจะควบคุมโรคหืดให้ได้  ผู้ป่วยต้อง

  1. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น จำพวกสารก่อภูมิแพ้  เช่น ฝุ่นบ้าน  ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ น้ำยา / สารเคมี
  2. ควันบุหรี่ /ท่อไอเสีย  , ความเครียด  , เชื้อไวรัสทางเดินหายใจ  ความชื้น - ความเย็น
  3. หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่ไม่ควรให้ในภาวะหอบเฉียบพลัน  เช่น  ยาแก้ปวดอักเสบที่ไม่ใช่
  4. สเตียรอยด์ (NSAIDs) ,ยา ß-Blocker,  ยาสงบระงับประสาท ( sedatives )  ยาละลายเสมหะ
  5. mucolytics ( อาจทำให้อาการไอแย่ลง )
  6. รู้ถึงชนิดของและวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง
  7. มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างยาควบคุมโรค (controller) และยาบรรเทาอาการ (reliever)
  8. สามารถติดตามและใช้ยาได้อย่างเหมาะสม
  9. ประเมินความรุนแรงของโรค  การปฏิบัติตัว  การปรับขนาดยากรณีมีอาการหอบหืดเพิ่มมากขึ้น   แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหืดด้วยยา

ยาที่ใช้รักษา มี  2 กลุ่ม  คือ

1.ยาสเตียรอยด์ชนิดสูด ( Inhaled corticosteroids, ICS )

การรักษาโรคหืด  ต้องลดการอักเสบของหลอดลม   โดยยาหลักที่มีบทบาทสำคัญที่ใช้กันคือ ยาสเตียรอยด์ชนิดสูด (ICS)ยานี้สามารถเพิ่มสมรรถภาพปอด ลดความไวของหลอดลม  ลดอาการ  ลดความถี่และความรุนแรงของอาการหอบกำเริบเฉียบพลัน  และเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย

การใช้ ICS  ขนาดสูงในระยะยาวได้ประโยชน์ในหอบหืดเรื้อรังชนิดรุนแรง (severe  persistant asthma) เนื่องจากช่วยลดการใช้สเตียรอยด์ชนิดรับประทานในระยะยาว  และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า

อาจใช้ในรูปแบบยาเดี่ยว  เช่น  BUDESONIDE, BECLOMETHASONE , FLUTICASONE  หรือผสมกับยากลุ่มขยายหลอดลม(กลุ่มที่ 2) ช่วยลดอาการเหนื่อยและอาการกำเริบได้ดี  เช่น  FLUTICASONE + SALMETEROL

2.ยาขยายหลอดลม  ( Bronchodilator )

แบ่งเป็นชนิดออกฤทธิ์สั้นและชนิดออกฤทธิ์นาน โดยกลุ่ม Beta-2 agonists  ออกฤทธิ์โดยทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมขยายตัว  อาการเหนื่อยหอบจึงดีขึ้น   และยังช่วยเพิ่มการกำจัดสารคัดหลั่ง เช่น เสมหะ  ( mucociliary clearance )  ลดการรั่วของสารน้ำจากหลอดเลือด   แบ่งเป็น  2 กลุ่ม

2.1 ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้น ( Short acting bronchodilators = SABA )  ได้แก่

2.1.1  Short  acting beta -2-agonists ออกฤทธิ์นานประมาณ 4 ชั่วโมง  เช่น ยา  FENOTEROL , SALBUTAMOL, TERBUTALINE

 2.1.2 Anticholinergics ออกฤทธิ์นานประมาณ   6-8  ชั่วโมง  เช่น  ยา IPRATROPIUM 

 การใช้ยาผสม 2 กลุ่มนี้   มีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้ยาเดี่ยวเพียงชนิดเดียว

 2.2 ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์นาน  (Long acting bronchodilators = LABA ) ได้แก่

 2.2.1 Long acting beta -2 – agonists ออกฤทธิ์นานประมาณ  12  ชั่วโมง   เช่น  ยา SALMETEROL  , FORMOTEROL

 2.2.2 Long acting anticholinergics ออกฤทธิ์นานประมาณ  24  ชั่วโมง  จึงสามารถใช้เพียงวันละ 1 ครั้ง ในรูปยาพ่นสูด  เช่น ยา  TIOTROPIUM

การใช้ยารักษาโรคนี้  หากใช้ยา ICS ขนาดต่ำเพียงอย่างเดียวแล้วยังไม่สามารถควบคุมอาการได้ การให้ยาขยายหลอดลม  เช่น  LABA เสริม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมอาการของโรคหืด  และลดจำนวนครั้งของการเกิดอาการหอบกำเริบ   ไม่ควรใช้ LABA เดี่ยวๆในการรักษาโรคหืด ดังนั้น   ปัจจุบันการใช้ ICS ร่วมกับ LABA  จัดเป็นยาที่ดีที่สุดในการควบคุมโรคหืด สำหรับยาปฏิชีวนะ  (antibiotics) ไม่ได้ใช้รักษาภาวะหอบเฉียบพลัน    แต่มีข้อบ่งใช้เมื่อ ผู้ป่วยมีภาวะนิวโมเนีย หรือติดเชื้อแบคทีเรีย

ข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้ที่ใช้ยาชนิดสูด

1.ถ้าไม่เคยใช้ยาสูด / พ่นมาก่อน   ต้องทำความเข้าใจวิธีใช้ให้ถูกต้อง จนมั่นใจว่าทำได้   อาจลองทำหน้ากระจก  หากสังเกตเห็น "ควัน" ออกจากส่วนบนของกระบอกหรือจากมุมปาก   แสดงว่าหุบปากไม่สนิท  ทำให้ยาไม่เข้าปาก   ถ้ามีกระบอก  ควรพ่นผ่านกระบอก จะได้ผลมากกว่า

2.ยาสูดพ่นประเภทสเตียรอยด์  ให้อมน้ำบ้วนปากทุกครั้งหลังสูด / พ่นยา   เพื่อลดอาการปากคอแห้ง ลดการเกิดเชื้อรา  ( ฝ้าขาว )  ในช่องปาก และเสียงแหบ

3.ถ้ามีเสมหะ  ก่อนสูดพ่นยา   ควรกำจัดเสมหะออกจากลำคอก่อน

4.หากลืมสูดพ่นยา  ให้สูดพ่นทันทีที่นึกได้ และสูดพ่นครั้งต่อไปตามปกติ แต่ถ้านึกได้ใกล้เคียงกับ เวลาของครั้งต่อไป  ก็ให้พ่นครั้งต่อไปแทนเลย    โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

5.ผู้ที่ใช้ยาสูดพ่น  2 ชนิด ร่วมกัน   ต้องว้นระยะในการพ่นแต่ละชนิด  5 นาที    โดยควรพ่นยาชนิด ขยายหลอดลมก่อน   แล้วเว้นระยะ 5 นาที   จึงพ่นชนิดสเตียรอยด์

6.อุปกรณ์ชนิดสูดพ่นที่เรียก  Inhaler  ควรมีการถอดล้างทำความสะอาดตามคำแนะนำเป็นระยะ

7.หมั่นตรวจสอบจำนวนยาว่ามีเหลือมากน้อยเท่าใด  ( ตามคำแนะนำในยาแต่ละชนิด ) โดยเฉพาะยาชนิดขยายหลอดลม  เพื่อให้มียาพร้อมใช้  เพราะหากไม่มียาขณะจับหืด  อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

 

  ข้อมูลจาก เภสัชกรหญิง พัทธ์ธีรา ทิพย์อัครพิชา ผู้จัดการฝ่ายเภสัชกรรม  โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์