การรักษารากฟันเป็นอีกสาขาหนึ่งทางทันตกรรมที่มุ่งเน้นด้านการรักษารากฟันและเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟัน ซึ่งสาเหตุโดยทั่วไปเกิดเนื่องมาจากการติดเชื้อบริเวณปลายรากฟัน หรือเกิดจากการหัก ร้าว หรือผุ ลึกลงไปจนถึงชั้นเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟันซึ่งมีเส้นประสาทและเส้นเลือดอยู่ ก่อให้เกิดอาการปวดและบวมที่บริเวณนั้น บางครั้งอาจเกิดความเสียหายต่อกระดูกขากรรไกรหรือกล้ามเนื้อ รวมถึงการติดเชื้อและการอักเสบในโพรงฟัน การรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีจึงมีความสำคัญและช่วยให้ผู้ป่วยยังคงสามารถเก็บฟันซี่นั้นได้ โดยไม่ต้องถูกถอนทิ้งไป  โดยในอดีตปัญหาเหล่านี้มักจะได้รับการแก้ไขด้วยการถอนฟันซี่นั้นทิ้งไป แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาทางทันตกรรม เทคโนโลยีและเทคนิค รวมทั้งวัสดุและอุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ช่วยให้สามารถรักษาอาการดังกล่าวได้ด้วยการรักษารากฟัน ช่วยให้ผู้เข้ารับบริการไม่ต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป

ข้อดีของการรักษารากฟัน
•    ช่วยกำจัดแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการอักเสบ
•    ช่วยขจัดความเจ็บปวด
•    ช่วยป้องกันการแพร่ขยายบริเวณของการติดเชื้อ

ขั้นตอนของการรักษารากฟัน
1 ขั้นตอนการวินิจฉัยและการเตรียมฟันเพื่อรับการรักษา
•    การถ่ายเอ๊กซเรย์ฟิลม์เล็กเพื่อตรวจดูสภาพและรูปร่างของฟัน รวมถึงบริเวณที่มีการติดเชื้ออักเสบ
•    ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณนั้น
•    การเจาะเปิดโพรงฟันเพื่อตัดเนื้อฟันที่ติดเชื้อออกไป
2 ขั้นตอนการทำความสะอาดโพรงรากฟัน
•    การทำความสะอาดโพรงรากฟันอาจทำมากกว่า 1 ครั้ง สำหรับผู้ป่วยบางท่าน เพื่อความมั่นใจว่าโพรงรากฟันได้รับการทำความสะอาดอย่างสมบูรณ์
•    สำหรับผู้ป่วยบางท่าน ทันตแพทย์อาจทำการใส่ยาลงในโพรงรากฟัน เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อาจหลงเหลือ และป้องกันการกลับมาติดเชื้อ
3 ขั้นตอนการอุดปิดโพรงรากฟัน
•    หลังจากโพรงรากฟันได้รับการฆ่าเชื้อแล้วนั้น ทันตแพทย์จะทำการอุดปิดโพรงรากฟัน
4  ขั้นตอนการใส่เดือยฟันและครอบฟัน
•  ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันแล้วนั้นจะมีความแข็งแรงน้อยลง มีความเปราะบางมากขึ้น ดังนั้นการทำเดือยฟันและ
ครอบฟันจึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงและช่วยปกป้องฟันซี่นั้น
5  การดูแลความสะอาดฟันและช่องปาก และการเข้ารับการตรวจสภาพฟันทุก 6 เดือนหรือตามที่ทันตแพทย์นัดก็มี
ความสำคัญอย่างมาก ช่วยให้สามารถพบและแก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ     

ข้อควรปฏิบัติหลังการรักษารากฟัน
•    อาจรู้สึกปวดเล็กน้อย ภายหลัง การรักษารากในแต่ละครั้งประมาณ 1-2 วัน ซึ่งสามารถบรรเทาอาการได้ ด้วย
•    การทานยาแก้ปวด
•    ไม่ควรใช้ฟันซี่ที่ยังรักษาไม่เสร็จเคี้ยวอาหารเหนียวหรือแข็งเพราะฟันอาจจะแตกได้
•    ถ้าวัสดุชั่วคราวหลุด ควรกลับมาพบทันตแพทย์ก่อนวันนัด
•    หากมีอาการที่ผิดปกติ อาทิมีอาการ ปวด เกินกว่า 2 วัน หรือมีอาการบวม ควรกลับมาพบทันตแพทย์ก่อนวันนัด

*อาการที่แสดงไว้เพื่อเป็นคำแนะนำในเบื้องต้น เท่านั้น