เวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสมอง

เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Neuro rehabilitation) หมายถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพของระบบประสาทส่วนกลางโดยเฉพาะสมอง อย่างเป็นองค์รวมโดยคณะทำงานสหวิชาชีพ ผู้ป่วยทางสมองส่วนมากจะมีปัญหาความพิการตกค้าง แม้จะรักษาโรคที่เป็นสาเหตุเบื้องต้นแล้วตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในสมอง เมื่อผ่าตัดก้อนเนื้อออกไปแล้ว ก็มักจะยังคงมีความผิดปกติทางด้านการเคลื่อนไหวการพูด การกลืน ความคิดและอื่นๆ และในโรคที่ไม่สามารถทำการรักษา ผ่าตัดแก้ไขรอยโรคได้เช่น ภาวะเส้นเลือดตีบในสมอง หรือภาวะสมองฟกช้ำจากการบาดเจ็บกระทบกระเทือนก็จะยิ่งมีความพิการตกค้างมากขึ้นไปอีก การฟื้นฟู ที่กระทำให้ถูกหลัก สอดคล้องกับความรู้สมัยใหม่และตรงตามปัญหาผู้ป่วยจะสามารถเพิ่มพูนระดับความสามารถของผู้ป่วยให้ดีขึ้นและอาจเข้าสู่ระดับปกติได้ดีกว่าการรักษาฟื้นฟูที่ไม่เหมาะสมหรือดีกว่าไม่ได้รับการฟื้นฟู

ผู้ป่วยทางสมองมักมีปัญหาหลายด้านร่วมกันที่พบบ่อยที่สุด ก็ได้แก่ การเดินและการทรงตัว การใช้แขนมือหยิบจับสิ่งของ ความตื่นตัว การรับรู้ในระดับสูง ความคิดและการวางแผนเป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องการกลืน การพูด การสื่อความหมายและการวางแผน ควบคุมการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน และความจำซึ่งก็พบได้บ่อยรองลงมา ปัญหาเหล่านี้สามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ แต่ต้องใช้วิธีการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพคนไข้จึงจะเกิดประสิทธิภาพในการรักษา

ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า ในช่วงหกเดือนแรกหลังการบาดเจ็บทุกชนิด จะเป็นช่วงที่สมองมีความอ่อนตัว มีความไวที่จะปรับตัวไปตามการฝึกต่างๆ ได้ เป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคทางสมองเกือบทุกชนิด ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบแตก ผู้ป่วยเนื้องอกทางสมอง ผู้ป่วยโรคสมองอักเสบ ผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง เหล่านี้ควรได้รับการฟื้นฟูอย่างเข้มข้นโดยเร็วที่สุด ตัวอย่างเช่น สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้วไม่เกินสองวัน ควรจะสามารถเริ่มรับการฟื้นฟูในขั้นเบื้องต้นได้ จึงจะสามารถได้ผลในการรักษาที่ดีที่สุดและลดการปรับตัวของสมองไปในทางที่ไม่พึงประสงค์อันจะทำให้ผลการฟื้นฟูไม่ดีเท่าที่ควรได้
โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพาตครึ่งซีก โรคอัมพฤกษ์ ทั้งหมดนี้หมายถึงโรคเดียวกัน ทางแพทย์เรียกว่า CVA Cerebrovascular accident หมายถึงการที่เส้นเลือดสมองอุดตันหรือแตก ทำให้เซลล์สมองเกิดขาดเลือดไปเลี้ยง หรือถูกก้อนเลือดกดเบียด จนทำให้เซลล์ทำงานไม่ได้ตามปกติและตายไปในที่สุดเมื่อสมองส่วนใดที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานอันใดอันหนึ่ง ในร่างกายเกิดบาดเจ็บเสียหาย การทำงานต่างๆ ของร่างกายก็จะผิดปกติไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นกับว่ารอยโรคในสมองเกิดขึ้นที่ตรงไหน ตัวอย่างเช่น อาจจะเกิดอาการแขน ขา อ่อนแรง ตามองไม่เห็น หรือพูดไม่ชัด หน้าเบี้ยว กลืนลำบาก อาการกลืนสำลัก และอย่างใดอย่างหนึ่งหรืออื่นๆ ก็ได้

โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์มีการใช้เทคนิกการบำบัดรักษาที่ทันสมัยหลายชนิด ที่ควรทราบก็ได้แก่

ในขณะที่ผู้ที่ใช้การฝึกเดินที่พื้นธรรมดา หรือฝึกกายภาพธรรมดา จะสามารถเดินได้แต่ยังต้องใช้การพยุงเป็นส่วนมาก เมื่อเวลาผ่านไป 6เดือนหลังจากนั้น ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มก็ดีขึ้น ผู้ป่วยส่วนมากที่ฝึกด้วยเครื่องหุ่นยนต์ จะสามารถเดินขึ้นลงบันไดได้ด้วยตนเอง ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีอาการหนักเท่ากันแต่ไม่ได้รับการฝึกด้วยเครื่องหุ่นยนต์ จะสามารถเดินได้ทางราบ และยังมีการเดินไม่มั่นคงร้อยเปอร์เซ็นต์ ยังต้องมีผู้คอยระวังหลังกันล้ม ในการฝึกเดินเช่นนี้ เหมาะสมกับผู้ที่มีอาการรุนแรงทรงตัวไม่ดี ยืนไม่ได้ ผู้ป่วยแบบนี้ควรใช้เครื่องหุ่นยนต์ฝึก แต่ถ้ามีอาการดีขึ้น พอจะก้าวขาได้บ้าง พอจะทรงตัวได้บ้าง ก็ควรจะฝึกโดยการใส่เสื้อประคองตัวแล้วเดินบนลู่วิ่งไฟฟ้า เพราะว่าจะทำให้พัฒนาการทรงตัวในระดับที่สูงขึ้นไปได้อีก การฝึกเดินบนลู่วิ่งไฟฟ้า ก็ยังมีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ ทำให้เพิ่มความสามารถในการทรงตัวให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

bulletLocomotor therapy and Gait robotic training หมายถึงการฟื้นฟูการเดิน โดยให้ผู้ป่วยใส่ชุดพยุงน้ำหนักตัวป้องกันการล้ม และให้เดินบนลู่วิ่งไฟฟ้า และหรือบนเครื่องหุ่นยนต์ช่วยฝึกการเดิน การฝึกเช่นนี้จะส่งผลดี ทำให้เกิดความมั่นใจว่าผู้ป่วยจะปลอดภัยจากการหกล้มระหว่างฝึก และยังมีผลทำให้การฝึกนั้นได้ผลดีกว่าการรักษาฝึกเดินบนพื้นราบธรรมดา เหตุผลเพราะว่า การฝึกเช่นนี้จะทำให้สามารถควบคุมท่าเดินให้เหมือนท่าเดินปกติได้มากที่สุด ผู้ป่วยก็จะไม่เกิดการเรียนรู้ท่าเดินที่ผิดๆ เพราะผู้ป่วยสามารถที่จะเดินได้ใกล้เคียงกับท่าเดินปกติตั้งแต่เริ่มต้นการฝึก นอกจากนั้นการฝึกแบบ Locomotor therapy ยังช่วยให้สามารถเลือกฝึกเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งก่อน อาทิเช่น จะเน้นการควบคุมหัวเข่าในระยะเหยียบ ระยะย่างก้าว หรืออาจจะเน้นการถ่ายเทน้ำหนักตัวซ้ายขวา หรือการทรงลำตัวอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ส่วนที่เหลือผู้ป่วยไม่ต้องกังวล คิดถึง เพราะว่ามีเครื่องหรือมีคนช่วยประคองอยู่แล้ว ก็จะทำให้มีสมาธิในการเลือกฝึกส่วนใดส่วนหนึ่งได้ดีกว่า การฝึกด้วยเครื่องยังทำให้สามารถฝึกได้จำนวนก้าวที่มากกว่า โดยทั่วไปการฝึกเดินที่พื้นจะสามารถพาคนไข้เดินได้ประมาณ 100-200 ก้าว แต่การฝึกบนเครื่องอาจจะสามารถทำให้ฝึกเดินได้ถึง 800-1000 ก้าวต่อวันที่ทำการฝึกในรอบครึ่งชั่วโมงที่ทำการฝึก โดยผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยน้อยกว่าเพราะผู้ป่วยไม่ต้องทรงตัวเองทั้งหมด และไม่ต้องเกร็งตัวเพราะกลัวล้ม การฝึกเช่นนี้มีผลดีกว่าฝึกเดินแบบธรรมดา มีการวิจัยในประเทศเยอรมัน ผู้ป่วยจำนวน 150 คน ที่เป็นโรคอัมพฤกษ์และเดินไม่ได้ ทำการฝึกเป็นเวลา 1 เดือน พบว่าผู้ป่วยที่ทำการฝึกด้วยเครื่องหุ่นยนต์ ร่วมกับการฝึกกายภาพธรรมดาผสมกัน จะสามารถเดินได้โดยไม่ต้องพยุงและไม่ต้องอาศัยผู้ช่วยประคองเป็นส่วนมาก
photo-neruo2

bulletการฟื้นฟูแขนด้วย หุ่นยนต์ช่วยฝึก ชนิด Bimanutrackและ การฝึกฝนการรับความรู้สึกแบบ Perfetti method

การฟื้นฟูความสามารถการเคลื่อนไหวแขน และการใช้มือหยิบจับของต่างๆนั้นโดยทั่วไปจะได้ผลการรักษาที่น้อย และใช้เวลามากกว่าการรักษาฟื้นฟูการเดิน เหตุผลเพราะว่าแขนและมือนั้นต้องอาศัยการทำงานที่ละเอียดอ่อน จึงจะใช้งานได้จริง ส่วนขานั้นแค่พอค้ำยันน้ำหนักตัว และทรงตัวไม่ล้มก็จะพอเดินได้บ้างแล้ว อีกทั้งแขนและมือเป็นอวัยวะที่ต้องทำงานโดยการสั่งการของเปลือกสมอง ที่เรียกว่า cerebral cortex เป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับขา ดังนี้น เมิ่อมีรอยโรคที่สมอง ก็มักเกิดผลกระทบกับแขนที่รุนแรงและมีการฟื้นตัวที่ช้าและจำกัดกว่าขา


 

ปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์มากมายหลายชนิดเพื่อช่วยฝึกการเคลื่อนไหวแขน และมือผู้ป่วย จากการทบทวนงานวิจัยทั่วโลกองค์กรกลางทางวิชาการที่น่าเชื่อถือเช่น Cochrane collaboration ได้สรุปข้อมูลได้ว่า หุ่นยนต์มีผลดีเพิ่มความสามารถในด้านการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวแขนได้จริง โดยเฉพาะ หุ่นยนต์ที่มีลักษณะเฉพาะให้ผู้ป่วยออกการเคลื่อนไหว ส่วนปลายแขนหรือข้อมือสองข้างให้พร้อมกัน พบว่ามีผลดีต่อการรักษาที่มากกว่า เครื่องที่ทำงานในแบบประคองแขนผู้ป่วยให้ฝึกการเอื้อมไปมาในทิศต่างๆ ถึง สามเท่าตัว

โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์จึงได้เลือกนำเข้าเครื่องฝึกเคลื่อนไหวแขน รุ่น Bimanutrack จากประเทศ เยอรมันนี เข้ามาใช้เพื่อให้ผู้ป่วยของเราสามารถมีโอกาสได้รับการฝึกที่ให้โอกาสในการฟื้นฟูสภาพได้ดีที่สุด



นอกจากการฝึกการเคลื่อนใหวด้วยหุ่นยนต์แล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีผลเป็นอย่างมากต่อการฟื้นฟูก็คือความสามารถในการรับรู้และแยกแยะ การเคลื่อนไหว หมายความว่าผู้ป่วยที่ไม่ทราบชัดว่าข้อต่อต่างๆ งอหรือเหยียดอยู่ในมุมเท่าไรนั้น ย่อมที่จะไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวแขนและ มือได้ดี อีกทั้งในกรณีที่จะต้องเรียนรู้การเคลื่อนไหวต่างๆใหม่ ก็จะทำได้ยาก การฝึกการรับรู้ และควบคุมเคลื่อนไหว ตามวิธีการของ Professor Carloperfetti นั้น เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในประเทศเยอรมันนี และอีกหลายประเทศ แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทยเท่าที่ควร

เคยมีการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงมาก ถึงกับใช้มือหยิบจับอะไรไม่ได้เลยนั้น จะได้ผลการรักษาฟื้นฟูที่ดีกว่า หากได้รับการรักษาแบบ perfetti เมื่อเทียบกับการักษาแบบ ทั่วไป




โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์มีโปรแกรมฟื้นฟูโรคอัมพาต (โรคหลอดเลือดสมอง) อย่างเข้มข้นและรอบด้านสำหรับผู้ป่วยใน (INTENSIVE & COMPREHENSIVE IN-PATIENT STROKE REHABILITATION PACKAGE)

โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับ
คนไข้ที่ต้องการความสะดวกในการเข้ารับการบำบัดทุกวันวันละหลายครั้ง โดยที่ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทางระหว่างบ้านและโรงพยาบาล โดยคนไข้สามารถนอนพักในโรงพยาบาลเพื่อรับการฟื้นฟูแบบผู้ป่วยใน

โปรแกรมนี้ทำอะไรบ้าง
การตรวจประเมิน วางแผนการฟื้นฟูและติดตาม ปรับปรุงแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง เข้มข้นและรอบด้าน โดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและทีมงานสหสาขาวิชาชีพต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้มีความพิการด้านต่างๆลดลง ให้สามารถดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงกับระดับความสามารถก่อนป่วยให้มากที่สุด

อัตราเหมาจ่าย
๐ ห้องเดี่ยวพิเศษ ราคา 120,000 บาท / เดือน

/


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู
โทร 0-2361-1111 ต่อ 2446