ริมฝีปากอักเสบ และแผลในช่องปากมีอาการพอง เป็นจุดหรือ เจ็บแสบที่ปาก ริมฝีปาก หรือลิ้น แม้ว่าการเจ็บแสบ และความผิดปกติที่ปากจะมีอยู่หลายประเภท โดยส่วนใหญ่ของอาการผิดปกติเหล่านี้จะเป็นโรคปากนกกระจอก ปากเปื่อย เนื้อเยื้อในปากเป็นสีขาวปื้นๆ (Leukoplakia) และการติดเชื้อแคนดิดา (Candidiasis)     แผลที่ปาก ริมฝีปากอักเสบ และการมีแผลพองที่ปาก  ทำให้มีอาการเจ็บปวด ไม่น่าดู และเป็นที่ระคายเคืองเวลารับประทานอาหาร และเวลาพูด โรคแผลในปาก มีการอาการต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์หรือมากกว่า ควรได้รับการตรวจจากแพทย์หรือทันตแพทย์  อาจแนะนำการตัดเนื้อเยื่อไปตรวจ เพื่อนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุ ของโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง หรือ HIV
สัญญาณเตือนว่าเป็นริมฝีปากอักเสบ หรือแผลในช่องปาก

1. โรคปากนกกระจอก  มีลักษณะเป็นวงกลมขาวๆ ขนาดเล็ก หรือเจ็บรอบๆ บริเวณที่เป็น สีแดง โรคปากนกกระจอกจะไม่มีการแพร่กระจาย ซี่งอาจทำให้สับสนกับโรคปากเปื่อย ซึ่งเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส  สามารถเกิดซ้ำได้อีก มีทั้งขนาดเล็ก ใหญ่ หรือกระจายกันเป็นกลุ่ม
โรคปากนกจอกนั้นเป็นโรคปากธรรมดาและสามารถเกิดซ้ำได้อีก ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถ ระบุถึงสาเหตุของโรคได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเชื่อว่าอาจเกิดจากปัญหาของระบบภูมิคุ้มกัน หรืออาจเกี่ยวข้องกับแบคทีเรีย หรือไวรัส ปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียด การบาดเจ็บ แพ้ การสูบบุหรี่ การขาดวิตามิน หรือธาตุเหล็ก และการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ก็มีส่วนในการทำให้เกิดโรคได้
2. โรคปากเปื่อย บางทีก็เรียกว่า Fever Blisters หรือ เริม เป็นการพองที่มีน้ำอยู่ข้างใน อยู่รอบๆ ปาก และบางครั้งก็เกิดใต้จมูก และรอบๆ คาง โรคปากเปื่อยส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อไวรัส สามารถติดต่อได้ง่าย และแพร่กระจาย การติดเชื้อครั้งแรกมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก บางครั้งก็ไม่มีอาการ และอาจจะสับสนกับโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ เมื่อคนติดเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกาย บางครั้งเชื้อไวรัสก็อาจจะโจมตีได้ และในบางคน เชื้อไวรัสก็อาจจะอยู่แบบไม่แสดงอาการ
3. เนื้อเยื้อในปากเป็นสีขาวปื้นๆ (Leukoplakia) มีลักษณะหนา เหมือนแผ่นสีขาวด้านในของแก้ม เหงือก หรือลิ้น เป็นสาเหตุเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และยาสูบไร้ควันต่างๆ ถึงแม้ว่าอาจมีสาเหตุอื่น รวมถึงการใส่ฟันปลอมไม่ดี ฟันหัก และเคี้ยวโดนแก้ม ประมาณ 5% ของโรค Leukoplakia สามารถพัฒนาเป็นมะเร็งได้  อาจทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจได้ โรค Leukoplakia ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ถ้าหยุดการสบุหรี่
4. การติดเชื้อแคนดิดา (Candidiasis) หรือโรคเชื้อราที่ปาก เป็นการติดเชื้อจากเชื้อรา Candida Albicans (เป็นยีสต์ชนิดหนึ่ง) ลักษณะมีเนื้อครีม สีเหลืองอมขาว   ซึ่งเกิดขึ้นที่ผิวชุ่มชื้นในปาก เนื้อเยื่อใต้ส่วนนั้นจะมีอาการปวด โรคเชื้อราที่ปาก มักเกิดกับผู้สวมฟันปลอมส่วนใหญ่ เด็กแรกเกิดหรือผู้ที่มีอาการอ่อนแอจากเชื้อโรค หรือผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ส่วนคนที่มีปากแห้ง หรือคนที่ทานยาปฏิชีวนะก็จะเป็นโรคนี้ ได้ง่ายเช่นกัน

*อาการที่แสดงไว้เพื่อเป็นคำแนะนำในเบื้องต้น เท่านั้น

มีการรักษาได้หลายแบบขึ้นอยู่กับอาการของโรค  ส่วนใหญ่โรคแผลในปาก  มีการรักษาดังต่อไปนี้


1.โรคปากนกกระจอก โดยปกติแล้วโรคปากนกกระจอกจะหายได้ภายใน 7-10 วัน ถึงแม้ว่าอาการจะเกิดขึ้นอีกเป็นปกติอาจใช้ยาขี้ผึ้ง หรือยาบรรเทาอาการปวด สามารถบรรเทาได้เพียงชั่วคราว บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก ที่ต่อต้านจุลินทรีย์อาจช่วยอาการอักเสบได้ บางครั้งยาปฏิชีวนะอาจเป็นการลดอาการ ทางอ้อมได้
2.ปากอักเสบ  แผลพุพองโดยปกติสามารถหายได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่อาจกลับมาเป็นอีกซ้ำอีกได้ หากผู้ป่วยเครียด โดนแดดมากเกินไป หรือเป็นไข้ ไม่มียาชาเฉพาะที่ที่สามารถใช้บรรเทาอาการปวด ชั่วคราวได้ ยาต้านเชื้อไวรัสที่แพทย์สั่งอาจช่วยลดการติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสบางชนิดได้ แนะนำปรึกษาแพทย์
3.เนื้อเยื่อในปากเป็นสีขาวปื้นๆ (Leukoplakia) การรักษาอาจเริ่มจากการหลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่ทำให้เกิดแผล เช่น คนไข้บางคนอาจเลิกสูบบุหรี่ หรือในรายอื่นๆ อาจหมายถึงการใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดี ก็เปลี่ยนฟันปลอมให้มีความพอดีกับฟันสังเกตอาการ หรือตรวจดูแผลอักเสบในช่วงระเวลา 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับชนิด ตำแหน่ง และขนาดของแผล และปรึกษาแพทย์
4.การติดเชื้อแคนดิดา (Candidiasis ) การรักษาประกอบด้วยการควบคุมสาเหตุของการแพร่กระจาย ทำความสะอาดฟันปลอม ซึ่งสำคัญต่อการป้องกันปัญหาการติดเชื้อที่เกิดจาก ฟันปลอม ยาปฏิชีวนะ หรือยาคุมกำเนิดบางชนิดเป็นสาเหตุ ก็ให้ลดปริมาณ หรือเปลี่ยน การรักษาก็อาจช่วยได้ สิ่งที่ทดแทนน้ำลาย ก็ช่วยลดอาการปากแห้งได้   ยาต้านเชื้อราอาจใช้รักษาเมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หรือไม่สามารถรักษาได้ การดูแลช่องปากให้มีอนามัยที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด