สาเหตุ
เกิดจากการตกผลึกของหินปูน (แคลเซียม), โคเลสเตอรอล   และบิลิรูบิน   ที่มีอยู่ในน้ำดี ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการตกผลึกของสารเหล่านี้ เชื่อว่าเกี่ยวกับการติดเชื้อของทางเดินน้ำดี และความไม่สมดุลของส่วนประกอบ (เช่น โคเลสเตอรอล, บิลิรูบิน)ในน้ำดี การตกผลึกของสารเหล่านี้ อาจทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วเพียงก้อนเดียว หรือก้อนเล็ก ๆ หลายๆ ก้อนก็ได้คนที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง, หญิงที่มีบุตรแล้ว, ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน, ทาลัสซีเมีย, โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก มีโอกาสเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมากกว่าคนทั่วไป   ส่วนถุงน้ำดีอักเสบ มักเป็นโรคแทรกซ้อนของนิ่วในถุงน้ำดี มีเพียงส่วนน้อยที่อาจไม่พบร่วมกับนิ่วในถุงน้ำดี แต่อาจพบในโรคอื่น ๆ เช่น ไทฟอยด์ , ตับอ่อนอักเสบ , ความผิดปกติของท่อส่งน้ำดี เป็นต้น

อาการ
นิ่วในถุงน้ำดี  
ไม่มีอาการ : นิ่วในถุงน้ำดี ส่วนใหญ่ (มากกว่า 50%) ไม่มีอาการ และในกลุ่มนี้จะมีโอกาส
เกิดอาการขึ้นได้ ประมาณ 1-2% ต่อปี.ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย จะไม่มีอาการผิดปกติแสดงให้เห็นแต่อย่างใดLC1
และมักจะตรวจพบโดยบังเอิญ จากการตรวจเช็คร่างกายด้วยโรคอื่น

มีอาการ  บางคนอาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อบริเวณเหนือสะดือ เรอ คลื่นไส้ อาเจียน คล้ายอาการของอาหารไมย่อย ซึ่งมักจะเป็นหลังกินอาหารมัน ๆ ในรายที่ก้อนนิ่วเคลื่อนไปอุดในท่อส่งน้ำดี (bile duct) จะมีอาการปวดบิดรุนแรงเป็นพัก ๆ ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือใต้ชายโครงขวา ซึ่งอาจปวดร้าวมาที่ไหล่ขวา หรือบริเวณหลังตรงใต้สะบักขวา มักปวดนานเป็นชั่วโมงๆ และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย บางคนอาจปวดรุนแรงจนเหงื่อออก เป็นลม อาการปวดท้องมักเป็นหลังกินอาหารมัน ๆ หรือกินอาหารมื้อหนัก  บางคนอาจมีอาการดีซ่าน (ตาเหลือง) เกิดขึ้นตามหลังอาการปวดท้อง

นิ่วในถุงน้ำดี อาจหลุดเข้าไปลำไส้ (โดยผ่านทางติดต่อผิดปกติ ระหว่าง ถุงน้ำดีกับลำไส้). แล้วเกิดการอุดตัน. มีอาการ คลื่นไส้อาเจียน, ท้องอืด, ปวดท้องเป็นพัก ๆ ทั่ว ๆ ท้อง, ไม่ถ่ายอุจจาระ ไม่ผายลม.

ถุงน้ำดีอักเสบ
การตรวจร่างกาย จะพบอาการไข้และกดเจ็บมากเป็นบริเวณกว้างที่ใต้ชายโครงขวา อาจมีอาการตาเหลืองร่วมด้วย

อาการแทรกซ้อน
นิ่วในถุงน้ำดี อาจทำให้เกิด ถุงน้ำดีอักเสบ, ท่อน้ำดีอักเสบ , ตับอ่อนอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ
เฉียบพลันอาจทำให้เกิดภาวะมีหนองในถุงน้ำดี (empyema of gallbladder), ถุงน้ำดีเน่า (gangrene of gallbladder), ถุงน้ำดีทะลุ, เยื่อบุช่องท้องอักเสบ , ท่อน้ำอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง อาจทำให้เกิดนิ่วในท่อส่งน้ำดี ตับอ่อนอักเสบ และอาจมีโอกาสทำให้เป็นมะเร็งของถุงน้ำดี

*อาการที่แสดงไว้เพื่อเป็นคำแนะนำในเบื้องต้น เท่านั้น

สัญญาณอาการโรคนิ่วในถุงน้ำดี
 
  • ท้องอืด
  • แน่นท้องหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก
  • ปวดท้องใต้ชายโครงขวาเป็นครั้งคราว อาจจะมีอาการปวดท้องและร้าวไปหลัง
  • ปวดท้องรุนแรง และปวดร้าวไปถึงสะบักด้านขวา
  • ไข้สูงเฉียบพลัน ถ้ามีการอักเสบของถุงน้ำดีอย่างเฉียบพลัน
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย 

การรักษา
การรักษาที่ดีที่สุดในปัจจุบัน คือ การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องผ่านทางช่องท้อง (Laparoscopic Cholecystectomy)เป็นการผ่าตัดแบบใหม่โดยการเจาะรูเล็กๆ ที่หน้าท้อง ถ้าผู้ป่วยไม่มีถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องผ่านทาง ช่องท้องสามารถทำได้สำเร็จถึงร้อยละ 95 การผ่าตัดแบบเดิมเป็นการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (open cholecystectomy) ปัจจุบันจะเลือกใช้ในการผ่าตัดถุงน้ำดีที่มีอาการอักเสบมากหรือแตกทะลุใน ช่องท้อง แผลผ่าตัดจากการผ่าตัดเปิดหน้าท้องจะยาว 10-15 เซนติเมตร หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะเจ็บแผลมากและ ใช้เวลาหลายวันกว่าจะหายเจ็บ ผู้ป่วยจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 7-10 วัน และระยะพักฟื้นก่อนกลับไปทำงานได้ตามปกติจะใช้เวลานาน2-4 สัปดาห์


คำแนะนำในการปฏิบัติตัว
1. หลีกเลี่ยงการลดน้ำหนักอย่างเร็ว (ไม่ควรลดน้ำหนักเร็วเกิน 0.5 กก./สัปดาห์) หรือกินอาหารไขมันต่ำมาก หรืออดอาหารนานเกิน 8ชั่วโมง เนื่องจากจะทำให้ตับสร้างกรดน้ำดีน้อยลง กรดน้ำดีช่วยทำให้น้ำมันแตกตัว น้ำย่อยไขมันทำงานได้ดีขึ้น) เมื่อกรดน้ำดีลดลงคลอเลสเตอรอลในน้ำดีมีโอกาสตกตะกอนเพิ่มขึ้น
2. ป้องกันไม่ให้ไขมันคลอเลสเตอรอล-หรือไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง โดยลดอาหารผัด ทอด ไม่กินข้าว แป้งน้ำตาลมากเกิน (รวมทั้งน้ำผลไม้ผลไม้ด้วย) เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง เปลี่ยนขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีท
3. แนะนำรับประทานอาหารที่มีเส้นใย (ไฟเบอร์) เช่น ข้าวกล้อง ถั่ว ผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัดทั้งผล ฯลฯ และอาหารที่มีแคลเซียมปานกลางมีส่วนช่วยป้องกันนิ่ว
4. ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใย ชนิดละลายน้ำที่พบในผักผลไม้ที่มีเมือกลื่น ข้าวโอ๊ต แอปเปิ้ล ถั่ว จะช่วยจับน้ำดีอาหารที่มีแคลเซียมช่วยจับประจุลบที่จับตัวเป็นนิ่วได้ง่าย เช่น ออกซาเลต ฯลฯ ที่พบในดินบางแห่ง และขับออกไปกับอุจจาระ
5. ควร ดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละ 8 แก้ว เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำดีข้นเกินไป และการดื่มน้ำสะอาดมากๆยังช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะเนื่อง จากเมื่อปัสสาวะเข้มข้นจนเป็นเกล็ด อาจจับตัวกันกลายเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และมีอาการปวดหลังช่วงล่างและปวดด้านข้างเมื่อปัสสาวะ
6. ออกกำลังกายหนักปานกลาง เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยานเร็ว 60 นาที/วัน คนที่ลดน้ำหนักได้นาน ส่วนใหญ่ออก ออกกำลังกาย 60-90 นาที/วันหรือมากกว่านั้น
7. ควรไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการปวดรุนแรง ปวดนานเป็นชั่วโมงขึ้นไป กดหรือแตะถูกเจ็บ ท้องแข็ง








1. ถ้ามีอาการปวดท้องที่ชวนสงสัยว่าเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ควรแนะนำให้ไปตรวจที่โรงพยาบาลภายใน 1-2 สัปดาห์ ระหว่างนั้นอาจให้การรักษาตามอาการไปพลางก่อน เช่น ถ้ามีอาการท้องอืดเฟ้อ ให้กินยาลดกรด หรือ  ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ   ถ้ามีอาการปวดบิดเป็นพัก ๆ ให้ยาแก้ปวด   ควรให้ผู้ป่วยงดอาหารมัน ๆ

2. ถ้ามีไข้ ดีซ่าน หรือกดเจ็บมากตรงบริเวณใต้ชายโครงขวา ควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง อาจให้ อาจต้องทำการตรวจพิเศษ เช่น เอกซเรย์หรืออัลตราซาวนด์ (ultrasound scan) และให้การรักษาโดยการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก ในปัจจุบัน มีวิธีการผ่าตัด โดยเจาะเป็นรูที่หน้าท้อง และใช้กล้องส่องผ่านรูเข้าไปผ่าตัด (Laparoscopic cholecystectomy) สามารถกลับบ้านภายใน 1-2 วัน และมีแผลเพียงเล็กน้อย ในกรณีที่มีการอักเสบของถุงน้ำดี มักจะให้ยาปฏิชีวนะควบคุมอาการก่อนจะทำการผ่าตัด

การรักษานิ่วในถุงน้ำดี ในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว คือ การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก ซึ่งวิธีมาตรฐานดั้งเดิม
ใช้วิธีการ ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง บริเวณใต้ชายโครงขวา (Open Cholecystectomy) โดยศัลยแพทย์
ชาวเยอรมัน ทำเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณกว่า 100 ปี มาแล้ว (พ.ศ. 2427). วิธีนี้ จะมีแผลผ่าตัดที่ยาว
LC_2ประมาณ 10 ซม. โดยหากมีนิ่วในท่อน้ำดีร่วมด้วย ก็จะทำการเปิดท่อน้ำดี เพื่อเอานิ่วออกได้
ไปพร้อมกัน.

ปัจจุบัน มีการผ่าตัดอีกวิธี คือ การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก โดยใช้กล้องส่องผ่านหน้าท้อง (Laparoscopic Cholecystectomy) วิธีนี้ เป็นที่นิยม และทดแทนการผ่าตัดวิธีมาตรฐานดั้งเดิม เนื่องจากมีแผลผ่าตัดที่เล็กลง (เป็นแผลเล็ก ๆ จำนวน 4 แผล ขนาด 0.5-1 ซม. เท่านั้น   แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น เนื่องจากมีการใช้กล้อง และอุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติมหลายอย่าง. ในการผ่าตัดวิธีนี้ หากมีนิ่วในท่อน้ำดีร่วมด้วย ก็สามารถเอาออกได้ หรืออาจใช้ วิธีส่องกล้องผ่านทางเดินอาหาร (จากปากเข้าไปถึงลำไส้เล็ก) เพื่อเอานิ่วในท่อน้ำดีออกก็ได้ โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง เช่นกัน. (เรียกวิธีการนี้ว่า อีอาร์ซีพี (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography).