โรคที่พบบ่อยในเด็กอีกชนิดหนึ่ง คือ ลมชัก (Epitepsy) โรคนี้ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุแต่มีอันตรายมาก ถ้าการชักแต่ละครั้งเป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะมีอาการหมดสติทันที บางรายผู้ป่วยจะร้องออกมาก่อน พร้อมๆ กันนั้นจะมีอาการชักเกร็ง และชักกระตุกไปทั้งตัว ถ้าผู้ป่วยกำลังยืนอยู่ก็จะล้มลงกับพื้น และแข็งเกร็งเหมือนท่อนไม้ และจะเริ่มมีอาการกระตุกเป็นระยะๆ ทั้งตัวอีกครั้งหนึ่ง ในระยะชักผู้ป่วยอาจกัดลิ้นตัวเองหรือมีปัสสาวะและอุจจาระออกมาด้วย ระยะเวลาชักอาจสั้นเพียงหนึ่งนาทีก็ได้ บางรายอาจนานนับเป็นชั่วโมงแบบนี้อันตรายมาก ระยะหลังชัก ถ้าชักไม่นานผู้ป่วยจะรู้สึกตัว กลับมาทำอะไรได้ตามปกติได้โดยเร็ว แต่ถ้าชักนานผู้ป่วยจะนอนหลับหลังชักเป็นเวลานานๆ

*อาการที่แสดงไว้เพื่อเป็นคำแนะนำในเบื้องต้น เท่านั้น

1. ระมัดระวังปัจจัยที่ทำให้ชัก เช่น การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ กลัวหรือวิตกกังวล อาการไข้ แสงบางอย่าง เป็นต้น
2. ในเด็กที่มีอาการชักรุนแรง การฉีดวัคชีนป้องกันโรคโดยเฉพาะโรคไอกรน ควรรอไปก่อนจนกว่าจะควบคุมอาการชักได้ และควรจะเพิ่มยากันชักอีกเล็กน้อยในระหว่าง 3 วัน หลังฉีดวัคชีน
3. การออกกำลังกายหรือไปในที่หมิ่นเหม่ต่ออันตราย เช่น ปีนต้นไม้ ว่ายน้ำ ควรจะจำกัดในระยะ 3 เดือนแรก ถ้าควบคุมอาการชักได้ดีแล้ว ก็ให้ค่อยๆ เริ่มมีกิจกรรมต่างๆ เหมือนเด็กปกติทุกอย่าง ได้ตามสมควร
4. พยายามให้การดูแลและให้เด็กที่ชักมีกิจกรรมต่างๆ เหมือนเด็กปกติทุกอย่าง เพื่อป้องกัน ปัญหาทางจิตใจและอารมณ์
5. ปกติยาที่ให้มักเป็น ฟีโนบาร์บิทอล ขนาด 5-7 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมต่อวัน ยาต้องให้นานอย่างน้อย 2-3 ปี หลังจากมีอาการชักครั้งสุดท้าย