คำถามที่พบบ่อย (FAQ) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
วันศุกร์ที่ 20 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2563
คำถามที่พบบ่อย (FAQ) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
1. หมวดความรู้ทั่วไป
ข้อ1 | Q : ความเสี่ยง (ร้อยละ) ที่เชื้อจะแพร่กระจายจากการติดอยู่บนสิ่งของ |
A: | เชื้อ COVID-19 สามารถแพร่กระจายผ่านสิ่งของที่แปดเปื้อนเชื้อโรคได้ อยู่ได้นานหลายวันหากไม่มีการทำความสะอาด ยกตัวอย่างอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในที่สาธารณะ เช่น ลูกบิดประตู และมือจับประตู ก๊อกน้ำ ราวจับรถสาธารณะ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีการแปดเปื้อนผ่านมือแล้วจับโทรศัพท์มือถือ หากใช้มือสัมผัสสิ่งของแล้วนำมาแตะบริเวณหน้า หรือหยิบอาหารเข้าปาก สามารถติดเชื้อได้เช่นเดียวกับการสัมผัสเชื้อจากผู้ป่วยโดยตรง จึงควรต้องระมัดระวัง ทำความสะอาดพื้นผิวที่อาจแปดเปื้อนบ่อยๆ และล้างมือบ่อยๆ |
ข้อ2 | Q: เชื้อสามารถแพร่กระจายในบริเวณสระว่ายน้ำได้หรือไม่ |
A: | ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการติดเชื้อจากการว่ายน้ำในสระ หรือแหล่งน้ำอื่น แต่ควรหลีกเลี่ยงสระน้ำที่มีผู้คนแออัด |
ข้อ3 | Q: มีเพศสัมพันธ์กับชาวจีน จะมีโอกาสติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือไม่ |
A: | ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการติดเชื้อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ โอกาสการติดเชื้อจะเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากกว่า |
ข้อ4 | Q: ยาสมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร สามารถรักษาโรคไวรัสโคโรนา ได้หรือไม่ |
A: | ฟ้าทะลายโจรเป็นยาสมุนไพรที่กรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกแนะนำให้ใช้รักษาหวัด และให้กินทันที ส่วน COVID-19 เป็นเชื้อไวรัสสายพันธ์หนึ่งในกลุ่มโคโรนาไวรัส ไม่ใช่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ยังไม่เคยมีการนำฟ้าทลายโจรมาทดลองใช้รักษา COVID-19 |
ข้อ5 | Q: แนวโน้มของสถานการณ์ไวรัสโคโรนาจะเป็นอย่างไร |
A: | เนื่องจากสถานการณ์แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่และประเทศ แต่โดยส่วนใหญ่อยู่ในระยะต้น จึงยังต้องมีการติดตามสถานการณ์ต่อเนื่องต่อไปอย่างใกล้ชิด สามารถติดตามข้อมูลสถานการณ์การระบาดได้ที่เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข หรือกรมควบคุมโรค และข้อมูลการระบาดของประเทศต่างๆ จากเว็บไซต์องค์การอนามัยโลก |
ข้อ6 | Q: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถติดทางอากาศ (airborne) ตามที่ประเทศจีนประกาศใช่หรือไม่ |
A: | ปัจจุบันการแพร่เชื้อยังไม่มีหลักฐานที่หนักแน่นว่าเป็นแบบ airborne การติดต่อทางอากาศที่เป็นข่าว เป็นการแพร่ที่เรียกว่าเป็น aerosol คือการได้รับเชื้อผ่านละอองฝอยที่ฟุ้งแบบเครื่องพ่นยาขยายหลอดลม การติดต่อหลักยังเป็นการอยู่ใกล้ชิด ไอจามรดกัน หรือมือไปสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อแล้วนำมาสู่ร่างกายผ่านการขยี้ตา แคะจมูกหรือปากที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน (Mucosa) |
ข้อ7 | Q: เดินทางไปประเทศเสี่ยงอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หลังจากกลับมาจะโดนกักตัว 14 วันหรือไม่ |
A: | กระทรวงงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางไปหรือกลับจากต่างประเทศ เผยแพร่บนเว็บไซต์ https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php เมื่อเดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้งดการออกไปในที่สาธารณะโดยไม่จำเป็น และให้วัดอุณหภูมิกายทุกวัน จนกว่าจะครบ 14 วันนับจากเดินทางถึงประเทศไทย ระหว่างการสังเกตอาการหากพบว่ามีไข้ ไอ ให้แจ้ง 1422 |
ข้อ8 | Q: ขอเอกสารประกาศการแจ้งเตือนประเทศเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง |
A: | ประชาชนสามารถติดตาอการประกาศพื้นที่เสี่ยงได้บนเว็บไซต์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php |
2. ดูแลป้องกันและปฏิบัติตนเองเบื้องต้น
ข้อ1 |
Q : หน้ากากแบบ N95 ควรใช้แบบ fit test หรือ fit check มีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิงหรือไม่ |
A: |
หน้ากาก N95 ที่ใช้ในการแพทย์ แนะนำให้ใช้เฉพาะกับบุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานกับผู้ติดเชื้อหรือสงสัยติดเชื้อ COVID-19 และต้องทำการทดสอบ fit check ทุกครั้งก่อนปฏิบัติงาน |
ข้อ2 |
Q: หน้ากากอนามัย N95 แต่ละรุ่น เช่น 9001 , 8201 มีความแตกต่างกันอย่างไร สามารถป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 ได้หรือไม่ |
A: |
ประชาชนทั่วไปไม่จำเป็นต้องใช้ หน้ากาก N95 ผู้ที่ไม่มีอาการป่วย สามารถใช้หน้ากากอนามัยแบบผ้า หรือ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ได้ ผู้ที่มีอาการป่วยให้ใช้หน้ากากอนามัย สำหรับหน้ากาก N95 ที่ใช้ในการแพทย์ แนะนำให้ใช้เฉพาะกับบุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานกับผู้ติดเชื้อหรือสงสัยติดเชื้อ COVID-19 |
ข้อ3 |
Q: ขอสนับสนุนเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับบุคลากรในหน่วยงาน (ยินดีเสียค่าใช้จ่าย) |
A: |
เนื่องจากการเกิดโรคต้องมีระยะฟักตัว ดังนั้น การตรวจคัดกรองเชื้อ COVID-19 จึงใช้เฉพาะกับผู้สัมผัสหรือผู้สงสัยติดเชื้อเท่านั้น ไม่ใช้เพื่อยืนยันการไม่ติดเชื้อในบุคคลทั่วไป เนื่องจากไม่สามารถรับรองได้ว่าไม่ได้อยู่ในระยะฟักตัวหรือจะไม่ติดเชื้อหลังจากการตรวจ สามารถศึกษาหาข้อมูลคำแนะนำการปฏิบัติของสถานประกอบการต่างๆได้ที่ |
ข้อ4 |
Q: หากต้องเดินทางไปประเทศที่มีรายงานผู้ติดเชื้อ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ สามารถไปได้หรือไม่ |
A: |
ขณะนี้องค์การอนามัยโลกยังไม่มีข้อแนะนำให้จำกัดการเดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ตามถ้าไม่มีเหตุจำเป็นที่จะเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาด อาจจะพิจารณาเลื่อนการเดินทางออกไปก่อน ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องเดินทางต้องลดโอกาสและความเสี่ยงที่จะไปสัมผัส ใกล้ชิดกับบุคคลจำนวนมาก หรือผู้ที่มีอาการทางเดินหายใจในสถานที่คับแคบ แออัด เป็นเวลานาน ล้างมือบ่อยๆ เมื่อต้องสัมผัสกับสิ่งของต่างๆ ไม่เอามือมาสัมผัสปาก จมูก ใบหน้า และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อต้องอยู่ในที่สาธารณะ พบปะ สนทนากับบุคคล |
ข้อ5 |
Q: การล้างมือด้วยน้ำอย่างเดียวสามารถทำลายเชื้อได้หรือไม่ |
A: |
การล้างมือเป็นการขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ เหงื่อ ไขมัน ที่ออกมาตามธรรมชาติ และลดจำนวนเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ชั่วคราวบนมือ การล้างมือด้วยน้ำธรรมดาไม่สามารถทำลายเชื้อได้ การล้างมืออย่างถูกวิธีต้องล้างด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว ใช้เวลาในการฟอกมือนานประมาณ 15-20 วินาที ในกรณีที่ไม่มีสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว ขอให้ล้างน้ำสะอาดปริมาณมากๆ นานกว่า 20 วินาที และถูมือให้ทั่วถึง |
ข้อ6 |
Q: เดินทางไปประเทศเสี่ยงอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หลังจากกลับมาจะโดนกักตัว 14 วันหรือไม่ |
A: |
กระทรวงงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางไปหรือกลับจากต่างประเทศ เผยแพร่บนเว็บไซต์ https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php เมื่อเดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้งดการออกไปในที่สาธารณะโดยไม่จำเป็น และให้วัดอุณหภูมิกายทุกวัน จนกว่าจะครบ 14 วันนับจากเดินทางถึงประเทศไทย ระหว่างการสังเกตอาการหากพบว่ามีไข้ ไอ ให้แจ้ง 1422 |
3. หมวด : มาตราการและการดำเนินการ
ข้อ1 |
Q : มาตรการคัดกรองที่ด่านช่องทางเข้า- ออกระหว่างประเทศ ทางอากาศบก และท่าเรือ เป็นอย่างไร |
A: |
กระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มมาตรการคัดกรองและเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษทุกด่านตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค. 2563 จนถึงปัจจุบัน โดยตรวจคัดกรองอุณหภูมิของผู้เดินทางเข้าประเทศจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 หากพบว่ามีไข้เกินกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ก็จะดำเนินการประเมินความเสี่ยงและกักกันโรค ถ้ามีอาการทางระบบทางเดินหายใจ |
ข้อ2 |
Q: ทำไมคนที่กลับมาจากเมืองอู่ฮั่นจึงถูกกักตัวที่ฐานทัพเรือสัตหีบ แต่ผู้เดินทางอื่น ๆ ไม่ถูกกักตัว |
A: |
เนื่องจากเป็นคนไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดสูงเป็นเวลานาน จึงจำเป็นต้องให้การดูแลเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษเพื่อให้คนไทยทุกคนปลอดภัย และเพิ่มความมั่นใจในการป้องกันการระบาดในวงกว้างอีกด้วย |
ข้อ3 |
Q: จะมีการดำเนินการอย่างไรกับคนไทยที่ยังอยู่ในเมืองจีน |
A: |
ยังคงมีการติดตามสถานการณ์ใกล้ชิดว่า มาตรการในการควบคุมการระบาดของเมืองอื่นๆ ในประเทศจีนจะควบคุมได้หรือไม่ เพื่อเป็นองค์ประกอบการตัดสินใจ โดยจะมีการพิจารณาร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งผู้ที่ติดตามข่าวสารเรื่องนี้สามารถตรวจสอบแนวทางการดำเนินงานจากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ |
ข้อ4 |
Q: กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการรับมืออย่างไรหากสถานการณ์รุนแรงขึ้น |
A: |
ในขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานต่างๆได้เร่งรัดการเฝ้าระวังและป้องกันโรค COVID-19 อย่างเต็มที่จนสามารถชะลอการแพร่กระจายของโรคได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามหากมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนรองรับการระบาดทั้งในการดูแลรักษาในสถานพยาบาล และการป้องกันที่เข้มข้นเพิ่มขึ้นในชุมชน อีกทั้งได้มีการซักซ้อมแนวทางปฏิบัติกับทุกภาคส่วนภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข |
ข้อ5 |
Q: เดินทางไปประเทศเสี่ยงอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หลังจากกลับมาจะโดนกักตัว 14 วันหรือไม่ |
A: |
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางไปหรือกลับจากต่างประเทศ เผยแพร่บนเว็บไซต์ https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php เมื่อเดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้งดการออกไปในที่สาธารณะโดยไม่จำเป็น และให้วัดอุณหภูมิกายทุกวัน จนกว่าจะครบ 14 วันนับจากเดินทางถึงประเทศไทย ระหว่างการสังเกตอาการหากพบว่ามีไข้ ไอ ให้แจ้ง 1422 |
4. หมวด : ค่าใช้จ่าย การรักษาพยาบาล
ข้อ1 |
Q : นโยบาย หรือหลักเกณฑ์ ของการเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาและตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ |
A: |
นโยบายในการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ในขณะนี้จะตรวจให้ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การสอบสวนโรค โดยกรมควบคุมโรคจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ สำหรับกรณีอื่นๆห้องปฏิบัติการจะเรียกเก็บจากผู้ส่งตัวอย่าง สำหรับผู้ที่ต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอบสวนโรคสามารถสืบค้นจากเว็บไซต์ www.ddc.moph.go.th สำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในผู้ป่วยคนไทย เบิกตามสิทธิ์ |
ข้อ2 |
Q: สถานพยาบาลที่สามารถตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ |
A: |
ปัจจุบันการตรวจทางห้องปฏิบัติการมีการกำหนดพื้นที่ดังนี้ |
ข้อ3 |
Q: ตัวยาที่ใช้ในการรักษาโรคโคโรนาไวรัสมีชื่อยาว่าอะไรบ้าง สามารถหาซื้อได้ที่ไหน |
A: |
เดือน กุมภาพันธ์ 2563 ประเทศจีนให้การรับรองการใช้ยา Favilavir ในการรักษา COVID-19 นอกจากนี้มีรายงานการใช้ยาหลายขนาน เช่น ยาต้านไวรัสเอดส์ (lopinavir ร่วมกับ Ritonavir) ใช้ร่วมกับยาต้านไข้หวัดใหญ่, ยาต้านไข้มาลาเรีย (คลอโรควิน), สำหรับยา Remdesivir มีการพบว่าใช้ได้ผลในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองที่ติดเชื้อ SARS และ MERS ทั้งหมดนี้ยังต้องได้รับการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการรักษาที่เชื่อถือได้ ในการรักษาแนะนำให้รักษาในโรงพยาบาลโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเท่านั้น เพื่อให้ได้ผลในการรักษาอย่างเต็มที่และป้องกันผลข้างเคียงอันตรายจากยา |
ข้อ4 |
Q: เคยป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แล้วจะมีโอกาสกลับมาเป็นอีกได้หรือไม่ |
A: |
มีรายงานการศึกษาในประเทศจีน ตรวจพบเชื้อโดย RT-PCR อีกครั้ง หลังจากได้รับการรักษาจนหายและไม่พบเชื้ออย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 48 ชม. อย่างไรก็ตามยังต้องศึกษาเพิ่มเติมว่าการพบผลการตรวจ RT-PCR ที่กลับมาเป็นบวกนั้น หมายถึงผู้ป่วยมีการติดเชื้อ เนื่องจาก RT-PCR เป็นการตรวจที่ไม่ได้บ่งชี้การติดเชื้อ อีกทั้งผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อก็ไม่ได้แสดงอาการ โดยหลักวิชาการการติดเชื้อไวรัสทั่วไป ผู้ป่วยที่หายจากโรคจะสร้างภูมิต้านทานที่สูงเพียงพอที่จะป้องกันการเกิดโรคได้เป็นเวลานานหลายเดือน |
ข้อ5 |
Q: ต้องการขอใบรับรองแพทย์เพื่อใช้ยืนยันกับประเทศปลายทางสามารถขอได้ที่ไหนบ้าง |
A: |
ปัจจุบันศักยภาพในการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาเชื้อมีมากขึ้น โรงพยาบาลบางแห่งจึงมีบริการตรวจและออกใบรับรองผลการตรวจ แต่โรงพยาบาลของภาครัฐ จะให้บริการตรวจหาเชื้อเฉพาะผู้ที่เข้าข่ายต้องสอบสวนโรคเท่านั้น จะไม่มีบริการสำหรับผู้ไม่มีอาการ |
ข้อ6 |
Q: ค่าใช้จ่ายในการขอตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ |
A: |
ค่าตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการจะมีความแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ตั้งแต่ 2,500 - 13,000 บาท เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการป้องกันตนเองของบุคลากรตามระดับความเสี่ยงของผู้รับบริการ, ค่าขนส่งตัวอย่าง เนื่องจากบางโรงพยาบาลไม่ได้ทำการตรวจด้วยตนเอง |
ผู้ตรวจสอบ/ผู้ตอบคำถาม
โดย นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ
นพ.ครรชิต ลิมปกาญจนรัตน์
พญ.วรรณา หาญเชาว์วรกุล
พญ.ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาส
ณ วันที่ 25 ก.พ.63