มะเร็งเต้านม และการป้องกัน
วันอังคารที่ 30 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2566
มะเร็งเต้านมและการป้องกัน
มะเร็งเต้านม คือเนื้อร้ายที่พบมากที่สุดในผู้หญิงและเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยมาก เป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก ซึ่งผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน เพียงแต่มีโอกาสน้อยมาก (<1%) ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ปัจจุบันยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แน่นอนของการเป็นมะเร็งเต้านม
ปัจจัยเสี่ยงพื้นฐาน
๐ มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่ทำให้ผู้หญิงไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก
๐ อายุมากขึ้นก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น
๐ ถ้ามีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมเช่นแม่พี่สาวจะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น
๐ BRCA1 BRCA2 เป็นยีนส์หนึ่งในหลายตัวที่ส่งผลให้ เกิดความเสี่ยงทางกรรมพันธุ์ต่อมะเร็งเต้านม
๐ อาหารและสิ่งแวดล้อม
๐ ประวัติการมีประจำเดือน
ความสัมพันธ์ระหว่างมะเร็งเต้านม กับ ฮอร์โมนยังไม่ชัดเจนมะเร็งเต้านมไม่เกี่ยวกับการถูกกระแทกถูกจับหรือลูบคลำและมะเร็งเต้านมไม่ใช่โรคติดต่อไม่มีผลการวิจัยใดสรุปชัดเจนว่ามะเร็งเต้านมเกิดมาจากสาเหตุใด
ขนาดก้อนเนื้อที่พบในเต้านม
1. คนที่ไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเองเลย ขนาดที่พบคือ 3-4 ซม.
2. คนที่ตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นครั้งคราว ขนาดที่พบคือ 3 ซม.
3. คนที่ตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ ขนาดที่พบคือ 2 ซม.
4.ผู้ที่ทำแมมโมแกรมครั้งแรก ขนาดที่พบคือ 1 ซม.
5.ผู้ที่มาตรวจ Screening Mammogram เป็นประจำ ขนาดที่พบคือ เล็กกว่า 1 ซม.
ผู้หญิงไทยควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเพราะการค้นพบตั้งแต่ก้อนขนาดเล็กช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
การดูด้วยตา
๐ ยืนส่องกระจกปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย
- ดูว่าเต้านมทั้งสองข้างมีการเปลี่ยนแปลงจากปกติหรือไม่
- หัวนมมีการเปลี่ยนสีหรือมีของเหลวออกจากหัวนมหรือไม่
๐ ยกมือขึ้นเหนือศีรษะ
- เพื่อดูด้านหน้าและด้านข้างของเต้านมว่ามีความผิดปกติ เช่น รอยยุบหรือรอยบุ๋มหรือไม่
๐ เอามือเท้าเอว เกร็งหน้าอก โค้งตัวมาข้างหน้า
- ดูเต้านมที่ห้อยมาข้างหน้าว่า ผิดปกติหรือไม่
- หัวนมบิดเบี้ยวหรือไม่
การคลำด้วยมือ
๐ นอนหงายในท่าสบายสอดผ้าขนหนูม้วนใต้ไหล่ข้างที่ตรวจโดยให้แขนตั้งฉากกับไหล่
๐ ใช้กึ่งกลางนิ้วส่วนบน 3 นิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง) กดเป็นวงกลมขนาดเท่าเหรียญบาทแล้วเคลื่อนนิ้วให้ทั่วบริเวณเต้านม โดยไม่ยกนิ้ว โดยกด 3 ระดับ คือ เบากลางหนักทำจากบริเวณใต้ราวนมจนถึงกระดูกไหปลาร้าในแนวขึ้นลงจนทั่วบริเวณเต้านมถึงบริเวณใต้ท้องแขนโดยใช้วิธีเคลื่อนนิ้วเช่นกัน
๐ หรือตรวจเต้านมแบบเป็นรูปก้นหอยเริ่มจากหัวนมกดนิ้วมือลงไปคลึงไปเป็นรูปวงกลมโดยไม่ยกนิ้วขึ้นแล้วค่อยๆเคลื่อนนิ้วมือไปบนเต้านมห่างจากหัวนมไปทีละน้อยภาพรวมของการตรวจแบบเป็นลูกก้นหอยคือเริ่มจากหัวนมค่อยๆเลื่อนนิ้วมือไปรอบๆหัวนมเป็นโรคก้นหอยแล้วจบที่รักแร้
✓ อายุ 20 ปีขึ้นไปควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนในช่วงอายุนี้ไม่จำเป็นต้องทำเเมมโมแกรม
✓ อายุ 35 ปีควรตรวจเมมโมแกรมเป็นพื้นฐานและตรวจทุกๆ 2 ปี
✓ อายุ 40 ควรตรวจเหมือนโปรแกรมทุกปี
✓ อายุ 50 ปีขึ้นไปควรตรวจเมมโมแกรมทุก 1-2 ปี
การดูแลสุขภาพเต้านม
การป้องกันตนเองจากแมลงเต้านมดีที่สุดคือการค้นพบให้เร็วที่สุดคือตั้งแต่ก้อนยังเล็กอยู่ซึ่งสามารถทำได้โดยแผนการดูแลสุขภาพเต้านม 3 ประการคือ
1. ตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
2. ตรวจโดยแพทย์
3. ตรวจเอกซเรย์เต้านมด้วยเเมมโมแกรมเมื่อถึงวัยอันควร
ข้อแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนการถ่ายเอกซเรย์เต้านม
1. คนเป็นช่วงไม่มีประจำเดือนหรือประจำเดือนหมดไปแล้วอย่างน้อย 3 วันเพื่อจะได้ไม่รู้สึกเจ็บคัดตึงเต้านม
2. วันที่มารับการตรวจเอกซเรย์เต้านมไม่ใช้น้ำหอมหรือโลชั่นบำรุงผิวแป้งฝุ่นหรือยาระงับกลิ่นกายบริเวณรักแร้
3. การถ่ายแมมโมแกรม ไม่มีอันตรายใดๆเนื่องจากใช้รังสีน้อยมาก
4. หากท่านกำลังตั้งครรภ์กรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนการตรวจ
ที่มา :
มูลนิธิถันยรักษ์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
คลิปวิธีการตรวจเต้านมตนเอง จากสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย