การฟื้นฟูข้อเข่าของ DBC INTERNATIONAL
วันอาทิตย์ที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ. 2555
การฟื้นฟูข้อเข่าสำหรับนักกีฬาหลังการผ่าตัดซ่อมเอ็นไขว่ในข้อเข่า ตามแนวทางของ DBC INTERNATIONAL ประเทศฟินแลนด์
๐ ท่านอาจเคยสงสัยว่านักฟุตบอลอาชีพที่ได้รับบาดเจ็บข้อเข่าและต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาเหตุใดจึงต้องหยุดการเล่นเป็นเวลา 6 - 12 เดือน หลายท่านเข้าใจว่า นักกีฬาเหล่านั้นเป็นแต่เพียงพักพื้นรอให้แผลหาย อันที่จริงแล้วนักกีฬาสามารถตัดไหมที่เย็บแผลการผ่าตัดได้ภายในเวลา 2 ? 3 อาทิตย์หลังผ่าตัดเท่านั้นเอง ในช่วงเวลา 6 - 12 เดือนที่เหลือหลังผ่าตัดนั้น จะต้องเข้ารับการฝึกฝนพื้นฟูสมรรถภาพในการเดิน วิ่ง กระโดด และรับน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บฉีกขาดซ้ำเดิมอีก ขบวนการฟื้นฟูดังกล่าวมีความละเอียดอ่อน คือ จะต้องกำหนดการออกกำลังกายให้มีความยากที่เหมาะสมกับระยะของการฟื้นตัวของเอ็นกล้ามเนื้อที่รอบข้อเข่า การฝึกที่ง่ายเบาเกินไปไม่สามารถเตรียมความพร้อมที่พอเพียงต่อการป้องกันการบาดเจ็บซ้ำได้ การฝึกที่หนักหรือการฝึกในระดับที่ยากก่อนที่นักกีฬาจะมีความพร้อมพอเพียง ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บระหว่างการฝึก ระดับความพร้อมของนักกีฬานั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามวันและเวลา และผลของการฝึก
๐ ตัวอย่างเช่น ณ 2 เดือนหลังผ่าตัดเป็นที่คาดหวังว่าหากดำเนินการฟื้นฟูได้สมบูรณ์แบบนักกีฬาจะสามารถพับข้อเข่าได้เท่าปกติเต็มที่เท่ากับข้างปกติ สามารถนั่งยองได้และสามารถมีกำลังกล้ามเนื้อฟื้นฟูขึ้นมาในระดับประมาณอย่างน้อยข้างละ 50% ของข้างปกติ ส่วนในช่วง 4 เดือนหลังผ่าตัด หากดำเนินการฟื้นฟูได้เหมาะสมนักกีฬาน่าจะสามารถทำการกระโดด และวิ่ง รวมทั้งการวิ่งสลับฟันปลาอย่างเบาๆ ได้เริ่มทำการกระโดดขึ้นและลงแท่นที่มีความสูงประมาณ 1 ฟุตได้ ส่วนภายใน 6 เดือนหรือ 12 เดือนแล้วแต่กรณี การฝึกโปรแกรมเร่งด่วนหรือธรรมดานักกีฬาควรสามารถลงเล่นกีฬาได้ โดยมีความเสี่ยงต่ำต่อการบาดเจ็บซ้ำ นักกีฬาควรจะสามารถกระโดดขาเดียว โดยใช้ขาข้างที่ผ่าตัดสามารถทำระยะการกระโดดขาเดียวได้เท่ากันหรือใกล้เคียงข้างที่ไม่ได้ผ่าตัดมีความต่างกันไม่ควรจะ 20% เป็นต้น
๐ โปรแกรมการฟื้นฟูข้อเข่าของ DBC นั้น นอกจากจะถอดแบบมาจากมาตรฐานที่ยอมรับในตำราและวงการวิชาการเวชศาสตร์ฟืนฟูแล้ว ยังถูกประมวลออกมาจากประสบการณ์การฟื้นฟูคนไข้ นักกีฬาฟุตบอลอาชีพในทวีปยุโรป โดยทีมงานของ DBC INTERNATIONAL เมื่อร่วมกันกับความสามารถในการกำหนดมาตรฐานโปรแกรมการฟื้นฟู ตลอดจนเครื่องมือที่ได้รับการออกแบบพิเศษเพื่อให้เอื้อต่อการฝึกฝนต่อการมีประสิทธิภาพแล้ว มีความเชื่อมั่นได้มากว่าโปรแกรมการฟื้นฟูข้อเข่าหลังผ่าตัดในตามแบบของ DBC นั้น จะทำให้ข้อเข่าที่ได้รับการผ่าตัดกลับมาทำงานได้มีประสิทธิภาพดีสูงสุดใกล้เคียงกับสภาพก่อนผ่าตัด และมีความเสี่ยงในการกลับมาบาดเจ็บซ้ำน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยทั่วไปผู้ป่วยควรเข้ารับโปรแกรมการฟื้นฟูตั้งแต่ก่อนผ่าตัดเพื่อเตรียมความพร้อม และหลังผ่าตัดควรเข้ารับการฟื้นฟูสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในเวลาที่ผู้ป่วยไม่ได้มาที่ศูนย์ฟื้นฟู ผู้ป่วยคงจะต้องออกกำลังกายตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดทุกวันอีกด้วย ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มรูปแบบจะมีประสิทธิภาพในการใช้ข้อเข่าได้สูงต่างจากผู้ที่ไม่ได้รับการฟื้นฟู กล่าวคือ ผู้ที่ผ่าเข่าแต่ไม่ได้รับการฟื้นฟูมักจะทำได้แค่เพียงเดินทางราบ เดินขึ้น เดินลงบันไดแล้ว ก็ไม่มีอาการเข่าบวมบ่อยๆ ไม่มีอาการเข่าทรุด เข่าล็อค เช่นกับในสภาพที่ยังไม่ได้ผ่าตัด ส่วนผู้ที่ได้ทำการฟื้นฟูแบบเต็มรูปแบบจะสามารถลุกนั่ง วิ่ง กระโดดได้อย่างแข็งแรงและมั่นใจ จะเห็นว่าการฟื้นฟูสภาพเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ไหน ๆ ก็ผ่าตัดแล้ว ถ้าไม่ฟื้นฟูก็จะไม่ได้ประสิทธิภาพ ไม่ได้ประโยชน์ ไม่ได้คุณภาพชีวิตเท่าที่พึ่งจะได้
ที่มา ผศ.นพ.ภาริส วงศ์แพทย์ กรรมการบริหารและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์
ผู้อำนวยการแพทย์ DBC Spine Clinic & Gym http://www.dbc-clinic.com/