อัมพาตครึ่งซีกคือภาวะที่ร่างกายมีการสูญเสียการทำงานของแขนและขาในด้านเดียวกัน ของลำตัวสาเหตุมีหลายอย่างแต่ที่พบบ่อยที่สุดคือ สาเหตุจากโรคหลอดเลือดสมองซึ่งจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

1. หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน
2. หลอดเลือดสมองแตก

ทั้ง 2 ภาวะดังกล่าวทำให้เนื้อเยื่อสมองในบริเวณที่หลอดเลือดนั้นหล่อเลี้ยงเกิดอาการขาดเลือดทำให้การทำงานของสมองส่วนนั้นๆ ซึ่งควบคุมการทำงานของร่างกายทำหน้าที่บกพร่องไป ดังที่ทราบกันแล้วว่าสมองมี 2 ซีก ซ้ายและขวาโดยปกติสมองซีก หนึ่งๆ จะควบคุมการทำงานของร่างกายด้านตรงข้ามเสมอ เช่น เมื่อสมองซีกขวามีปัญหาจึงส่งผลให้การทำงานของร่างกายซีกซ้ายเกิดการอ่อนแรง เป็นต้น


อาการ
1. แขนและขาข้างเดียวกันของลำตัวอ่อนแรง
2. เดินไม่ได้เป็นปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนจึงทำให้ผู้ป่วยและญาติกังวลมากกว่าปัญหาอื่นๆ
3. การช่วยเหลือตนเองลดลงโดยเฉพาะกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน เช่น การรับประทานอาหาร การแต่งตัวการอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่ผู้ป่วยเคยทำได้แต่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ อื่นเมื่อเกิดโรคขึ้น
4. อารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่ายบ่อยครั้งที่เกิดอารมณ์ซึมเศร้าเนื่องจากมีความรู้สึกด้อยค่าในตัวเองจากความเจ็บป่วย
5. ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้แม้แต่กิจวัตรประจำวันพื้นฐาน
6. ปัญหาเรื่องการสื่อสารผู้ป่วยบางรายอาจพูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือพูดได้แต่ไม่รู้เรื่อง เป็นต้น
7. ปัญหาเรื่องรับประทานอาหารในแง่การเคี้ยว การกลืน อาจเกิดสำลักน้ำและอาหารได้ง่าย
8. ปัญหาเรื่องระบบขับถ่ายอาจไม่สามารถควบคุมได้ หรือ ขับถ่ายไม่คล่องทั้งปัสสาวะและอุจจาระหรือมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดอัมพาตครึ่งซีกแล้วมีปัญหาเกิดขึ้นหลายอย่างกล่าวโดยรวมคือ ปัญหาเหล่านี้กระทบต่อทางร่างกาย ทางจิตใจและสังคมของผู้ป่วย แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันและแก้ไขได้หากผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ถูกต้องตั้งแต่แรกและได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสมนอกจากแพทย์และทีมผู้รักษาแล้วญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยก็มีความสำคัญเท่าๆกับทีมผู้รักษา เนื่องจากญาติมีความเข้าใจในโรคและตัวผู้ป่วยเพื่อคอยเป็นกำลังใจ รวมทั้งเข้าใจการรักษาเพื่อให้การดูแลต่อเนื่องได้ถูกต้อง

การดูแลเบื้องต้น
จุดประสงค์ของการดูแลเบื้องต้นผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมอง คือ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ซึ่งได้แก่
 
bullet แผลกดทับ
bullet ข้อยึดติด
bullet กล้ามเนื้อลีบอ่อนแรง
bullet ความดันเลือดต่ำจากการนอนนาน

การดูแลเบื้องต้นควรประกอบด้วย
1. ป้องกันแผลกดทับ
แผลกดทับมักเกิดจากการนอนอยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานานๆ บริเวณที่พบแผลกดทับได้บ่อยคือ บริเวณปุ่มกระดูกของร่างกาย เช่น บริเวณเชิงกราน บริเวณตาตุ่ม เป็นต้น ผิวหนังและเนื้อเยื่อในบริเวณดังกล่าวไม่สามารถทนต่อแรงกดทับนานๆได้ดังนั้น ควรดูแลโดยพลิกตะแคงตัวให้ผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมงหรือฝึกให้ผู้ป่วยทำเองโดยก่อนจะทำการพลิกตะแคงตัวควรใช้แขนข้างดียกแขนข้างที่เป็นอัมพาตมาวางบนหน้าอกแล้วฝึกการพลิกตะแคงตัว ดังนี้
 
bullet พลิกตะแคงไปยังด้านที่เป็นอัมพาต
bullet ให้ผู้ป่วยใช้มือข้างดีดึงขอบที่นอนด้านตรงข้ามแล้วใช้ขาข้างดียันกับที่นอนเพื่อให้ลำตัวพลิกมา
bullet พลิกตะแคงตัวไปยังด้านที่ดี
bullet ใช้มือข้างดีจับขอบที่นอนขณะเดียวกันใช้ขาข้างดีดันที่นอนช่วยให้ลำตัวพลิกตะแคงอาจใช้ขาข้างดีเกี่ยวขาด้านที่เป็นอัมพาตเพื่อช่วยพลิกตะแคงมา

2. จัดท่าทางการนอนที่เหมาะสม
เมื่อเกิดอัมพาตครึ่งซีกแขนข้างที่เป็นอัมพาตผู้ป่วยมักนอนงอศอกงอข้อมือ กำนิ้วมือ ส่วนขาข้างที่เป็นอัมพาตมักนอนในท่าแบะสะโพกออกเข่างอและปลายเท้าจิกลงถ้าปล่อยให้อยู่ในลักษณะนี้นานๆ ก็จะเกิดภาวะข้อยึดติดเมื่อกำลังกล้ามเนื้อกลับคืนมาก็ไม่สามารถจะใช้แขนและ มือในการหยิบจับสิ่งของไม่สามารถใช้ขาในการเดินได้
ดังนั้นการดูแลในเรื่องการจัดท่านี้ต้องให้ความสนใจกับข้อทุกข้อของทั้งแขนและ ขาการจัดท่าของมือทำได้โดยใช้อุปกรณ์เสริมช่วยอุปกรณ์เสริมที่หาได้ง่ายที่สุดคือ ผ้าขนหนูผืนเล็ก 1 ผืนพับครึ่งม้วนเข้าด้วยกันแล้วใช้เทปตรึงเป็นม้วนกลมให้ผู้ป่วยกำไว้เพื่อประคองให้มืออยู่ในท่าที่ถูกต้องหากได้รับอุปกรณ์เสริมประคองเสริมประคองข้อมือและข้อนิ้วมือก็สามารถใช้ได้ เช่นเดียวกัน
 
การจัดท่านอนทำได้หลายรูปแบบ
bullet
bullet
ท่านอนหงายกางไหล่ออกเป็นมุมฉากมีหมอนบางรองใต้ไหล่ ข้อสะโพกและข้อเข่าเหยียดออกโดยมีหมอนยาวหนุนข้างต้นขากันไม่ให้ต้นขาบิดออก ควรใช้หมอนข้างรองปลายเท้าทั้ง 2 ข้างไม่ให้ข้อเท้าตกการจัดท่าของแขนและมืออาจจัดสลับไปมาได้หลายท่าทั้งงอศอกและเหยียดข้อศอก
bullet นอนตะแคงทับข้างดีใช้หมอนรองที่แขนและขาข้างที่เป็นอัมพาตขาข้างดีเหยียดตรงแขนข้างดีกางออกจากลำตัว
bullet
bullet
นอนคว่ำควรทำเมื่อพร้อมและแพทย์อนุญาตมีข้อดี คือ การนอนคว่ำจะเป็นการเหยียดข้อสะโพกและเข่าที่ดีมากแต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ชินกับการนอนคว่ำควรค่อยๆ ฝึกเริ่มจากเวลาน้อยๆ จนสามารถทนได้นานถึง 30 นาทีต่อครั้งและให้ความถี่ประมาณ 3 - 4 ครั้งต่อวันเท่าที่ผู้ป่วยจะทนได้การจัดท่าควรมีหมอนเล็กรองใต้ข้อเท้า 2 ข้าง เพื่อป้องกันการกดทับของที่นอนต่อนิ้วเท้ามีหมอนบางรองใต้ไหล่ กางไหล่ออก ข้อศอกเหยียดตรง คว่ำมือ และมือจับอุปกรณ์ประคองมือ

3. การออกกำลังกายเบื้องต้น
หากผู้ป่วยยังไม่พร้อมที่จะทำเองญาติหรือผู้ดูแลควรช่วยเหลือโดยการขยับข้อทุกข้อของข้างที่อ่อนแรงเพื่อป้องกันข้อยึดติดการบริหารทำข้อละ 3-5 ครั้ง วันละ 1-2 รอบ ในทิศทางต่อไปนี้
 
bullet
bullet
การบริหารข้อไหล่ ควรประกอบด้วย ยกไหล่มาด้านหน้ากางไหล่ออกด้านข้างแล้วยกขึ้น หมุนไหล่เข้าและออก
bullet การบริหารข้อศอก ควรประกอบด้วย การงอและเหยียดข้อศอก คว่ำมือและหงายมือ
bullet
bullet
การบริหารข้อมือและนิ้วมือมือและนิ้วมือข้างที่เป็นอัมพาตของผู้ป่วยมักบวมซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงจึงไม่สามารถบีบตัวให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองเป็นไปอย่างปกติการดูแลเบื้องต้นคือ ให้ใช้หมอนหนุนปลายมือให้สูงกว่าข้อศอกทั้งในท่านอนและท่านั่งนวดไล่จากปลายนิ้วมือเข้าหาต้นแขนและทำท่าบริหารโดยให้กระดกข้อมือขึ้นเหยียดนิ้วมือออกให้สุดและกางนิ้ว โป้งออกให้ง่ามนิ้วตึงการบริหารข้อสะโพกควรประกอบด้วย การงอและเหยียดกางออกหุบเข้า รวมทั้งหมุนสะโพก
bullet
bullet
การบริหารข้อเท้าควรกระดกข้อเท้าขึ้นให้เอ็นร้อยหวายตึงป้องกันการหดสั้นของเอ็นร้อยหวาย หากเอ็นร้อยหวายหดสั้นปลายเท้าจะจิกลงและขัดขวางการเดิน
bullet
bullet
เมื่อผู้ป่วยแข็งแรงและพร้อมที่จะทำได้เองควรสอนให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย โดยให้เอามือประสานกันแล้วยกแขน 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะเป็นการป้องกันข้อไหล่ติดสามารถทำได้ทั้งท่านั่งและท่านอนจากนั้นใช้มือข้างดีกระดกข้อมืออัมพาตเหยียดนิ้วให้ตรงรวมทั้งการนิ้วโป้งออกให้ง่ามนิ้วตึง

4. กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกนั่งบ่อยๆ
หากผู้ป่วยยังลุกนั่งเองไม่ได้ ให้จับผู้ป่วยลุกนั่งและหากยังทรงตัวนั่งเองไม่ได้ควรนั่งโดยมีที่พิงบนเตียงให้ใช้หมอนวางเรียงประคองหลังกันผู้ป่วยล้มลงเมื่อลุกนั่งและไม่มีอาการเวียนศีรษะหน้ามืดควรนั่งให้ตรงประมาณ 70 ? 90องศา หากนั่งเอนมากๆ ลำตัวมักไม่มั่นคงเกิดการถูไถไปกับที่นอนและจะทำให้มีแผลกดทับเกิดตามมา ระยะแรกอาจให้นั่งเฉพาะมื้ออาหารเมื่อทนได้ดีขึ้นควรเพิ่มความถี่ของการนั่งให้มากขึ้น ระยะเวลาของการนั่งต่อครั้งควรค่อยๆปรับให้มากขึ้นตามความทนทานของผู้ป่วยตั้งแต่เวลาน้อยๆ เช่น 5 นาที และควรนั่งได้อย่างน้อย 30 นาทีต่อการลุกนั่ง 1 ครั้ง แต่ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยนั่งได้อย่างน้อย 30 นาที อาจย้ายมานั่งเก้าอี้ข้างเตียงได้ โดยนั่งเก้าอี้มีพนักพิงแล้วใช้หมอนประคองไหล่ แขนและมือข้องที่อ่อนแรงไว้ แขนและมือข้างที่อ่อนแรงไว้ด้วย

ประโยชน์ของการลุกนั่งบ่อยๆ
 
bullet ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น
bullet ระบบหายใจอากาศจะเข้าสู่ปอดได้ทุกส่วนลดปัญหาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
bullet ระบบย่อยอาหารและขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น
bullet การลุกนั่งจะมองเห็นสิ่งแวดล้อมได้รอบตัวเป็นการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกได้ดีกว่าการนอน
bullet เมื่อลุกนั่งผู้ป่วยจะสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับญาติหรือผู้ดูแลได้อย่างเป็นธรรมชาติ


การดูแลเบื้องต้นเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญในในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและเป็น การเตรียมร่างกายของผู้ป่วยให้พร้อมสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อไป