เบาหวานอาหารสำคัญกว่ายา  

ผู้ที่เป็นเบาหวานต้องเลือกรับประทานอาหารที่ทำให้ควบคุมเบาหวานได้ง่ายขึ้น เนื่องจากยากินจะช่วยกระตุ้นให้ตับอ่อนทำงานมากขึ้นและช่วยให้เนื้อเยื่อ ต่างๆดื้อต่ออินซูลินน้อยลงใช้ไปนานๆตับอ่อนจะทำงานไม่ไหวต้องเพิ่มยาขึ้น เรื่อยๆจนไม่สามารถใช้ยากินได้

การควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวานจึงสำคัญที่สุด

การควบคุมอาหารเป็นหัวใจของการควบคุมเบาหวานแม้จะได้รับยารักษาเบาหวานแล้วก็ตาม
การ ควบคุมอาหาร คือ การเลือกรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของ ร่างกายโดยรับประทานให้ได้สัดส่วนกับพลังงานที่ใช้ในวันนั้นๆ   ?ใช้เท่าไร  กินเท่านั้น?    ถ้ากินมากกว่าพลังงานที่ใช้ไปน้ำตาลในเลือดก็จะสูง

จุดมุ่งหมายของการควบคุมอาหาร

 
 bullet เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด
 bullet เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
 bullet เพื่อชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
 bullet เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนอย่างสมดุล


ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการควบคู่กับการออก กำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

 
bullet
bullet
รับประทานอาหารให้หลากหลายครบทุกหมู่ ได้แก่ ข้าว แป้ง ขนมปัง, เนื้อสัตว์, ไขมัน, นม, ผัก และผลไม้
bullet
bullet
ทั้งนี้ชนิดและปริมาณอาหารที่รับประทานในแต่ละวันจะแตกต่างกันในแต่ละ บุคคลขึ้นกับเพศ อายุ น้ำหนัก และกิจกรรม (ควรปรึกษาแพทย์ หรือนักโภชนาการ)
bullet รับประทานอาหารหลังฉีดอินซูลินหรือรับประทานยาแล้วประมาณ 30 นาที
bullet
bullet
รับประทานอาหารให้เป็นเวลาสม่ำเสมอในเวลาเดียวกันทุกวันไม่ควรรับประทานเฉพาะ เวลาหิวอย่างดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งแล้วเพิ่มปริมาณในมื้อต่อไป
bullet
bullet
อาจรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆและมีอาหารว่างระหว่างมื้ออาหารแทนการรับประทานอาหาร 3 มื้อใหญ่แต่ให้พลังงานที่ได้รับต่อวันเท่าเดิม
bullet รับประทานอาหารไขมันให้น้อยลง
bullet ลดอาหารเค็มจำกัดปริมาณเกลือที่ใช้ในอาหารให้น้อยลง
bullet
bullet
รับประทานอาหารแป้งที่มีเส้นใยอาหารเพิ่มขึ้น เช่น เผือก มัน ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวโอ๊ต ธัญพืช ขนมปังที่ทำจากแป้งไม่ได้ขัดสีมากไม่ควรรับประทานชนิดที่ผ่านกระบวน การขัดสี มากแล้ว เช่น ข้าวขัดขาว ก๋วยเตี๋ยว
bullet
bullet
รับประทานผักเพิ่มขึ้นผักที่รับประทานได้โดยไม่จำกัดปริมาณ ได้แก่ กะหล่ำปลีสด ผักกาดขาว ผักกาดหอม ผักสลัดแก้ว ผักบุ้ง แตงกวา ตำลึง ต้นหอม
bullet ขึ้นฉ่ายฝรั่งควรรับประทานผักอย่างน้อยวันละ 2 ขีด
bullet
bullet
ควรเลือกรับประทานผลไม้สดที่มีความหวานน้อย เช่น ฝรั่ง ส้ม มะละกอ หรือดื่มน้ำผัก เช่น น้ำมะระ น้ำแตงกวา น้ำแครอท แทนน้ำผลไม้จะได้เส้นใยอาหารเพิ่มและไม่ควรเติมน้ำตาล
bullet
bullet
ควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีความหวานมาก เช่น น้อยหน่า ขนุน ทุเรียน เงาะ และน้ำผลไม้ เพราะหวานมากทำให้ควบคุมน้ำตาลยากหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ผู้ป่วยเบาหวานกับงานเลี้ยงหรือการรับประทานอาหารนอกบ้าน

 
bullet ลดปริมาณอาหารไขมันในมื้ออาหารล่วงหน้าเพื่อรับประทานในงานเลี้ยงซึ่งมักเป็นอาหารไขมันสูง
bullet งาน เลี้ยงมักเริ่มเวลา 18.00 น. - 20.00 น. หากไม่ใช่เวลาอาหารเย็นปกติของผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานอาหารว่างไปก่อน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
bullet เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตนและควบคุมปริมาณอาหารในการรับประทานทุกครั้งที่รับประทานอาหารนอกบ้านหรือไปงานเลี้ยงสังสรรค์
bullet ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำหวานและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
bullet ดื่มน้ำเปล่า 1 แก้วก่อนรับประทานอาหารและเลือกรับประทานผักสด สลัด ซุปใส เพื่อให้อิ่มเร็วขึ้น และ ไม่รับประทานอาหารอื่นๆ มากเกินไป โดยเฉพาะไขมัน
bullet
bullet
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้ ไวน์ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรเลือกดื่มเบียร์อ่อน วิสกี้ผสมน้ำ น้ำแข็ง เครื่องดื่มค็อกเทล โดยดื่มเพียงเล็กน้อยพร้อมอาหารและดื่มช้าๆ
bullet เคี้ยวช้าๆ วางช้อนทุกครั้งและสนทนาขณะรับประทานอาหารจะช่วยให้รับประทานอาหารน้อยลง
bullet ควรเลือกร้านอาหารที่สามารถสั่งอาหารได้ตามต้องการ เช่น ไม่ใส่น้ำตาล ไม่ใส่ผงชูรส ไม่ใส่น้ำมันมาก
bullet กรณีที่อาหารที่สั่งมีปริมาณมากไม่ควรรับประทานจนหมดเพราะเสียดายควรแบ่งให้ผู้อื่นรับประทานหรือห่อกลับบ้าน
bullet ไม่ควรไปงานเลี้ยงอาหารแบบโต๊ะจีนบ่อยและควรปฏิเสธอาหารที่ต้องหลีกเลี่ยงอย่าให้ความเกรงใจทำให้ต้องละเลยการควบคุมอาหาร
bullet
bullet
หากต้องเดินทางควรนำอาหารที่พกพาสะดวกติดไปด้วย เช่น น้ำผลไม้ธรรมชาติ นมจืดพร่องมันเนยชนิดกล่อง ถั่วคั่ว เนยถั่ว ขนมปังกรอบจืด ส้ม ชมพู่ แอปเปิ้ล กล้วย เพื่อรับประทานในยามฉุกเฉินหากถึงเวลาอาหารควรรับประทานรองท้องก่อนอย่า ปล่อยให้หิวจัด
bullet
bullet
หลีกเลี่ยงน้ำ น้ำแข็ง ผลไม้ที่ปลอกทิ้งไว้หรืออาหารที่ขายตามริมทางเดินอาหารสุกๆ ดิบๆ ซึ่งอาจปนเปื้อนจุลินทรีย์สูงเพราะอาจทำให้ท้องเสียจะทำให้การควบคุมเบาหวาน ยุ่งยากมากขึ้น
bullet ลดปริมาณไขมันและกะทิในการปรุงอาหารโดยอาจเลือกใช้กระทะประเภทมีสารเคลือบไม่ติดกระทะเพื่อช่วยลดปริมาณน้ำมันในการปรุงอาหารได้
bullet
bullet
งดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไส้กรอก กุนเชียง เบคอน ฮอตดอก พิชซ่า แฮมเบอร์เกอร์ โดนัท พาย คุกกี้ เค้ก ครีม เนยสด น้ำสลัดข้น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มันฝรั่งทอด กะทิ มะพร้าวขูด
bullet อาหารชุบแป้งทอดทุกชนิด กุ้ง หอย ปลาหมึก
bullet เลือกใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว
bullet เลือกรับประทานอาหารประเภทต้ม ย่าง นึ่ง อบ ยำ แทนอาหารทอดหรือผัด
bullet เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมันหรือหนัง เต้าหู้ ไข่ขาว ปลา โดยเฉพาะปลาทะเล ซึ่งจะมีสารป้องกันการจับตัวของเกร็ดเลือดช่วยป้องกันหลอดเลือดตีบตันได้
bullet เลือกดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์นมที่ทำจากนมพร่องไขมันเนย
bullet จำกัดปริมาณไข่แดงสัปดาห์ละไม่เกิน 2-3 ฟอง

 
จำกัดปริมาณเกลือที่ใช้ในอาหารให้น้อยลง    โดยปฏิบัติดังนี้

 
 bullet ลดอาหารที่มีรสเค็มจัด เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว น้ำมันหอย โดยลดปริมาณเครื่องปรุงเหล่านี้หรือไม่ใส่เลย แล้วปรุงรสด้วยมะนาว น้ำส้ม กระเทียม หัวหอม และเครื่องเทศแทน
 bullet หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือสูง เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง แฮม ไส้กรอก เบคอน ขนมทอดกรอบใส่เกลือ บะหมี่หรือโจ๊กสำเร็จรูป


เบาหวานทำให้เกิดการเสื่อมหน้าที่ของไตและเกิดความดันโลหิตสุงสารโซเดียมใน เกลือ ทำให้ร่างกายกักน้ำไว้มากขึ้นจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นเพราะไตต้องทำงานหนักขึ้น