ACEIs / ARBs กับการป้องกันภาวะ “ ไตเสื่อม “
วันพุธที่ 30 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 542
ภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานาน คือ ภาวะไตเสื่อม ซึ่งหากไม่ได้รับการป้องกัน / รักษาแต่เนิ่นๆ อาจนำไปสู่ภาวะไตวายเริ้อรัง หรือไตวายระยะสุดท้าย
(chronic renal failure หรือ end stage renal disease ; ESRD) ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้โดยเร็ว เพราะกว่าโรคนี้จะแสดงอาการ การทำงานของไตจะถูกทำลายไปมากแล้ว จนไม่สามารถรักษาให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ
ในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงที่เป็นอยู่นาน โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม จะทำให้ไตทำงานเสื่อมลงได้ และเมื่อไตทำงานเสื่อมลง จะทำให้ความดันโลหิตสูงเป็นรุนแรงขึ้น
ดังนั้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง ( DM Type II ) โดยเฉพาะผู้ที่มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วยหากได้รับยา ACEIs ( Angiotensin-Converting Enzyme Inhibitor ) หรือยา ARB ( Angiotensin Receptor Blocker ) เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อม เมื่อเริ่มมีดัชนีชี้บ่ง ก็จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้
ดัชนีชี้บ่งดังกล่าว คือการมีโปรตีน Microalbumin ในปัสสาวะ ซึ่งเป็น early marker ของภาวะไตในเบาหวาน Diabetic nephropathy (DN) ที่เป็นสาเหตุพบบ่อยที่สุดของ ESRD ปกติร่างกายมีการขับโปรตีนที่เรียก albumin ออกทางปัสสาวะ ในปริมาณต่ำกว่า 20 มิลิกรัมต่อวัน (15 ไมโครกรัมต่อนาที ) หากอัตราการขจัด albumin เพิ่มเป็น 30-300 มิลลิกรัมต่อวัน (20-200 ไมโครกรัมต่อนาที) และคงอยู่ต่อเนื่อง ถือว่ามีภาวะ microalbuminurea
ยา ACEIs และยา ARBs เป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาภาวะความดันโลหิตสูง และยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ดี เช่น ผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย ผู้ป่วยหลังภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยเบาหวานที่ไตเสื่อม ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงร่วมกับ left ventricular hypertrophy
ในทางการแพทย์จึงมีการใช้ยาทั้ง 2 กลุ่มนี้ เพื่อป้องกันการเกิด microalbuminuria โดยมีแนวทางการให้ยา ( Clinical Policy ) เพื่อป้องกันภาวะ DN ดังนี้
1. ในผู้ป่วยที่ตรวจพบ Urine Microalbumin < 20 mg/L ให้
1) Keep HbA1C < 7.0 %
2) control BP < 130/80 mmHg
3) ไม่ต้องใช้ยา
2. ในผู้ป่วยที่พบ Urine Microalbumin อยู่ระหว่าง 20-299 mg/L ให้ควบคุมBP<130/80mmHg โดย
1) เริ่มให้ ACEIs เช่น enalapril ถ้าแพ้ ACEIs ให้ ARBs เช่น Losartan ก่อน ถ้าBP ยัง > 130/80 mmHg ให้เพิ่มยา
2) Calcium Channel Blockers ( CCBs ) เช่น Amlodipine , Nifedipine
3) ß-Blocker เช่น Atenolol
4) Diuretics เช่น HCTZ
3. ในผู้ป่วยที่ตรวจพบ Microalbumin > 300 mg/L ให้
1) จำกัดอาหารโปรตีน < 0.8 g/kg/day
2) Serum Cr > 4 mg/dl ใช้ CCB แทน ACEIs
ถ้าใช้ ACEIS ควร Monitor Serum K., Cr เป็นระยะ โดยเฉพาะ 2 เดือนแรกที่ได้ยา
4. ผู้ป่วยที่ส่งทำ X-Ray c contrast study เช่น IVP ในผู้ป่วย High risk เช่น
- DM
- Serum Albumin < 3.5 g/dl
- Na < 135 mEq/L
- Cr > 1.5 mg/dl
- ควรส่งปรึกษาอายุรแพทย์ก่อน
5.หลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs ตัวอย่างยาในกลุ่ม ACEIs และ ARBs
- ยาในกลุ่ม ACEIs ได้แก่ Benazepril , Captopril ,Enalapril ,Fosinopril, Lisinopril,Quinapril, Ramipril , Trandolapril
- ยาในกลุ่ม ARBs ได้แก่ Candesartan, Eprosartan, Irbesartan, Losartan,Telmisartan, Valsartan
อาการไม่พึงประสงค์ของยาทั้ง 2 กลุ่ม
1. Angioedema หรือ Angioneurotic edema : อาการบวมบริเวณใบหน้า แขนขา ริมฝีปาก กล่องเสียง ฝาปิดกล่องเสียง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในช่วงสัปดาห์แรกของการใช้ยา
กรณีนี้เมื่อหยุดยา อาการจะหายได้เอง กลุ่ม ARBs พบน้อยมาก
2. อาการไอเรื้อรัง ไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ พบในเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย บางรายหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์ แต่รายที่ไม่หายไอแก้ไขโดย หยุดยา อาการไอจะหายหลังหยุดยา 1-4 วัน กลุ่ม ARBs พบน้อยกว่ามาก
3. อาการทางผิวหนัง ที่พบบ่อยคือ ผื่นคัน ในช่วง 4 สัปดาห์แรกของการใช้ยาและขึ้นกับขนาดยา อาการผื่นคันไม่รุนแรง หายเองได้ภายใน 2-3 วัน เมื่อลดขนาดยา
4. ความดันโลหิตต่ำ พบได้ในผู้ที่ใช้ยานี้ครั้งแรก ซึ่งแก้ไขโดยการให้ยาขนาดต่ำก่อน ในผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย (heart failure ) ต้องได้รับการติดตามดูแลใกล้ชิด
5.ภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง พบในผู้มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยไตเสื่อม หรือได้ยาเสริมโปแตสเซียม เป็นต้น
รพ. ต่างๆ จึงมีการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าเกณฑ์ ให้ได้รับยาดังกล่าวเพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อม อันยังประโยชน์ต่อผู้ป่วยโดยตรงในการป้องกันไตวายเรื้อรัง หรือไตวายระยะสุดท้าย
ข้อมูลจาก เภสัชกรหญิง พัทธ์๊รา ทิพย์อัครพิชา ผู้จัดการฝ่ายเภสัชกรรม