การวางแผนการเงินเพื่อสร้างครอบครัว
วันจันทร์ที่ 20 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558
การสร้างครอบครัวเป็นบทสรุปของคนวัยหนุ่มสาว
เมื่อพบเจอคนที่ถูกใจ
“
ยูกดไลค์
ไอก็กดเลิฟ”
เมื่อถึงจุดที่ตกลงปลงใจจะใช้ชีวิตร่วมกันแล้วนั้น
คงหนีไม่พ้นต้องมานั่งวางแผนการเงินร่วมกัน
เพราะเมื่อเป็นสามีภรรยากันแล้ว
เป้าหมายในชีวิตคงไม่ใช่เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง
แต่ควรเป็นของคนสองคนร่วมกัน
จึงควรมานั่งวางแผนด้วยกันก่อนแต่งงานแต่ละคนอาจมีรายได้
และค่าใช้จ่าย
เมื่อแต่งงานกันแล้วควรจะต้องมีการวางแผนร่วมกัน
ว่ารายได้ของแต่ละฝ่ายเป็นเท่าไหร่
รายจ่ายมีอะไรบ้าง
ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
หรืออาจกำหนดเป็นค่าใช้จ่ายของครอบครัว
แล้วกำหนดเป็นกองกลาง
ที่แต่ละฝ่ายต้องนำรายได้มาร่วมกันรับผิดชอบเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ฝันไว้ร่วมกัน
ดังนั้นการทำประมาณการรายได้รายจ่ายของครอบครัวจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับครอบครัวใหม่***
ก่อนจะเริ่มลงทุนครอบครัวควรมีเงินออมสำหรับรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน
โดยควรมีสภาพคล่องอย่างน้อย
3-6
เท่าของค่าใช้จ่าย
การลงทุนของครอบครัวนั้นอาจต้องผสมผสานความเสี่ยงของสามีและภรรยาเพื่อให้เกิดความสมดุล
และเพื่อความสบายใจของทั้งคู่
ดังนั้นคงต้องประเมินว่าสามีภรรยาของเราเป็นคนที่รับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด
การวางแผนการเงินระยะยาวที่มีเป้าหมายเกิน
15-20
ปีขึ้นไป
สามารถเลือกลงทุนในหุ้นได้
เพราะการลงทุนในหุ้นระยะยาวจะช่วยให้ปลอดภัยจากรอบวัฏจักรเศรษฐกิจ
(Business
Cycle) ซึ่งกินระยะเวลาประมาณ
10-13
ปี
ควรกระจายการลงทุนออกไปในหุ้นหลายๆ
ตัว โดยบริหารเป็นพอร์ตการลงทุน
เพื่อลดความเสี่ยงจากการเลือกหุ้นผิดตัว
หากไม่มีเวลา
หรือไม่สามารถติดตามหุ้นเป็นรายตัวได้
ก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมหุ้น
ซึ่งมีความหลากหลายในนโยบายการลงทุน
มีการบริหารความเสี่ยงจากผู้จัดการกองทุน
ซึ่งใกล้ชิดข้อมูลและมีความรู้มากกว่าเราสิ่งที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ
เรื่องการจดทะเบียนสมรสหรือไม่นั้นเพราะจะมีผลติดตามมาในเรื่องของกฎหมายและภาระผูกพัน
เนื่องจากกฎหมายถือว่าสามีภรรยาที่สมรสกันนั้นเป็นบุคคลคนเดียวกัน
การทำนิติกรรมบางประการต้องทำร่วมกัน
เช่น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
เป็นต้น เรื่องที่ต้องพิจารณาต่อมาคือ
ภาษี สินสมรสและมรดกในแง่ของภาษี
หากเป็นครอบครัวมีรายได้ทางเดียว
คือ สามีหรือภรรยาเป็นผู้มีรายได้
จะสามารถนำคู่สมรส
รวมทั้งบิดามารดาของคู่สมรส
ค่าเบี้ยประกันของบิดามารดาคู่สมรส
มาหักเป็นค่าลดหย่อนเพิ่มเติมได้
หากไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ต่างฝ่ายต่างมีรายได้
ซึ่งสามารถแยกยื่นภาษีได้อยู่แล้ว
ปัญหาข้อนี้อาจไม่เป็นเรื่องสำคัญนักด้านการวางแผนมรดก
การจดทะเบียนสมรสทำให้เกิดทรัพย์สินส่วนกลางของคนสองคน
ที่เรียกว่าสินสมรส คือ
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรส
ต้องพิจารณาก่อนว่า
ทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรส
หรือสินส่วนตัว และเมื่อหักด้วยหนี้สินแล้ว
เหลือเป็นสินสมรสสุทธิเท่าไหร่
การวางแผนมรดกจะทำได้กับสินส่วนตัวและสินสมรสในส่วนของตนเท่านั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ
***แผนการมีบุตร***
การวางแผนการศึกษาให้แก่ลูกเป็นอีกเรื่องที่ต้องให้ความสนใจเป็นเรื่องต้นๆ
เพราะเราคงต้องยอมรับว่า
การศึกษาของลูกคือปัจจัยที่สำคัญสู่ความสำเร็จของเขาในอนาคต
นอกจากนี้
ควรพิจารณาเรื่องการปกป้องความเสี่ยงด้านการเงิน
หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ใครจะเป็นคนดูแล
ดังนั้นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยคือ
การวางแผนประกัน
ซึ่งควรพิจารณาทั้งเรื่องทุนประกันชีวิต
การจัดการภาระหนี้ทั้งหมด
และมีค่าใช้จ่ายก้อนหนึ่งไว้ให้ครอบครัว
เพื่อให้เวลาในการปรับตัว
นอกจากนี้ยังควรดูเรื่องค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง
หรืออุบัติเหตุ
ควรมีพอที่จะรับมือกับเหตุการณ์ร้ายๆ
เหล่านี้สุดท้ายการวางแผนเกษียณ
คงต้องมาทบทวนร่วมกันว่าจะเกษียณเมื่อไหร่
จะเกษียณพร้อมกันหรือไม่ในกรณีที่คู่สมรสมีอายุที่แตกต่างกันพอสมควร
หลังเกษียณจะใช้ชีวิตอย่างไร
เพื่อกำหนดแผนการเกษียณที่เหมาะสมสำหรับทั้งคู่ทั้งนี้ทั้งนั้น
ความฝันหรือเป้าหมายของคนทั้งสองคนจะบรรลุหรือไม่
คงขึ้นกับความมีวินัย
และความอดทนของทั้งคู่ที่จะฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ
จนบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
ขอให้มีความสุขสมหวัง
รักกันนานๆ นะครับ