HA กับ SHA

บริการสุขภาพที่จะเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย  น่าจะเป็นระบบที่ประชาชนให้ความเคารพ  เชื่อถือ  ตามที่ได้สืบมาในสังคมและวัฒนธรรมไทย

กระบวนการดูแลผู้ป่วยที่พึงประสงค์ จำต้องอาศัยคน ทรัพยากร ความรู้ ยาและเทคโนโลยี  รวมถึงการจัดการเพื่อให้องค์ประกอบต่างๆ ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้มีการประมวลไว้เป็นแนวทางให้โรงพยาบาลนำไปปฏิบัติ  ที่เรารู้จักกันว่า “ มาตรฐานโรงพยาบาล “

การดูแลผู้เจ็บไข้ได้ป่วย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับความเป็นมนุษย์ ซึ่งมุ่งเน้นการดูแลด้านจิตใจของผู้ที่ป่วยไข้หรือทุกข์ทรมาน  วัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย  สังคมจะยกย่องแพทย์  หมอ  พยาบาล  ว่าเป็นปูชนียบุคคล  เป็นผู้ที่ช่วยชีวิตผู้คน มีคุณค่าต่อสังคม  ความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้เชื่อมโยงกับคุณค่าที่ดีของทั้งสองฝ่าย  คือ  หมอพยาบาลมีความเมตตากรุณาและความรักต่อคนไข้  คนไข้มีความกตัญญูรู้คุณ

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล  พยายามส่งเสริมให้เกิดสมดุลทั้งสองด้าน  คือการมีระบบการแพทย์ที่ทันสมัย  มีประสิทธิภาพ  ใช้ความรู้ทางวิชาการ  มีระบบการจัดการที่ดีควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญในเรื่องราวของชีวิต  มิติจิตใจ  ธรรมชาติ  วัฒนธรรม  ประเพณีและสิ่งแวดล้อม  เป็นความสัมพันธ์ที่บูรณาการและผสมกลมกลืนกันอย่างเหมาะสมงดงาม  เกิดความพอดีระหว่างวิทยาศาสตร์กับมิติด้านจิตใจ  มีการฝึกฝนจิตใจให้พร้อมที่ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด  อันจะทำให้ระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยมีความงดงาม  เกิดผลที่ดีที่สุดแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างมากที่สุด

SHA  เป็นโครงการต่อเนื่องในความพยายามที่จะนำกระบวนการ HA มาใช้การการสร้างเสริมสุขภาพโดยโรงพยาบาล  โดยขยายเป้าหมายสู่การสร้างระบบบริการสุขภาพที่ยั่งยืนภายใต้ชื่อยาวๆ ว่า Sustainable Healthcare and Health Promotion by Accreditation เมื่อชื่อ SHA ติดตลาด  จึงตกผลึกว่าคำเต็มของ SHA ควรจะเป็น Sustainable Healthcare by AA โดย Healthcare ในที่นี้หมายรวมถึง Health Promotion ด้วย และ AA ก็คือ  Appreciation & Accreditation

จากการสร้างฝันและลงมือปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ว่าหัวใจสำคัญของ SHA คือ  การทำงานที่มุ่งเข้าถึงมิติด้านsha_1

จิตวิญญาณ  ทั้งของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ทั้งในการทำงานประจำ การพัฒนาคุณภาพ และการเยี่ยมโดยผู้แทนของ สรพ.

การมุ่งเข้าถึงมิติด้านจิตวิญญาณคือการประมวลแนวคิดที่มีการนำเสนอในการประชุม   HA   National   Forum  ต่อเนื่องกัน

มา อาทิ humanized healthcare, healing environment, living organization ขยายความรวมไปถึงการใช้สุนทรียศาสตร์และการสร้างคุณค่าให้แก่กันและกัน

HA และ SHA เป็นเสมือนหยินกับหยางซึ่งช่วยเกื้อหนุนและเติมเต็มให้แก่กัน  ซึ่งโรงพยาบาลควรนำหลักการ  แนวคิด  และเครื่องมือของ HA และ SHA ไปปฏิบัติในลักษณะที่เป็นองค์รวม  ยิ่งบูรณาการกันได้มากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ทุกคนมีความสุขและองค์กรประสบความสำเร็จมากเท่านั้น

โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้เป็นอย่างดีและได้นำหลักการ, มาตรฐาน  HA  มาประยุกต์

ใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และได้พัฒนาต่อเนื่องมาโดยตลอดควบคู่ไปกับการพัฒนาการดูแลด้านจิตใจ  จิตวิญญาณของทั้งผู้ให้และผู้รับบริการและในปี พ.ศ. 2554 - 2555 ได้กำหนดเข็มมุ่งการพัฒนาเรื่องการพัฒนาตามมาตรฐาน HA และการพัฒนา Spiritual Care ของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่  พร้อมกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว

 

ขอบคุณข้อมูลจากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)