- รวมโปรโมชั่น
- เวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสมอง
- การผ่าตัดส่องกล้องช่องท้อง
- การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า
- แผนกอายุรกรรม
- แผนกเวชปฏิบัติทั่วไป
- แผนกสูตินรีเวช
- แผนกศัลยกรรมและฉุกเฉิน
- แผนกศัลยกรรมกระดูก
- แผนกเด็ก
- แผนกจักษุ
- แผนกหู-คอ-จมูก
- แผนกวิสัญญี
- แผนกรังสีวิทยา
- แผนกผิวหนังและศูนย์ความงาม
- แผนกจิตเวช
- แผนกทันตกรรม
- แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู
Scoring Guideline 2011
วันพุธที่ 30 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 542
Scoring guideline คือแนวทางการให้คะแนนการปฏิบัติตามมาตรฐาน (compliance) เป็นระบบการประเมินที่พยายามจะทำให้การตัดสินใจของผู้ประเมินเป็นไปตามหลักเกณฑ์และหลักฐานให้มากที่สุด ลดความแตกต่างหลากหลายระหว่างผู้ประเมินให้มากที่สุด
เป้าหมายของ Scoring
1. สถานพยาบาลใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารภายใน เพื่อวัดระดับการปฏิบัติตามมาตรฐาน รวมถึงการใช้มุมมองที่แตกต่างในการให้คะแนนเพื่อประมวลความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ทำได้ดีและโอกาสพัฒนาอย่างรอบด้าน
2. สรพ. ใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจให้การรับรองกระบวนการคุณภาพ
นโยบายของ สรพ.
1. เลือกใช้ระบบการประเมินให้คะแนนที่สมดุลระหว่างประโยชน์และความเรียบง่าย
2. ส่งเสริมให้สถานพยาบาลใช้กระบวนการประเมินตนเองด้วยคะแนน เพื่อประโยชน์ในการมองหาโอกาสพัฒนาอย่างรอบด้านมากกว่ามุ่งหวังเพียงสรุปคะแนน
ลักษณะของ Scoring Guideline 2011
1. มีหัวข้อการประเมินทั้งหมด 89 หัวข้อ แบ่งรายละเอียดของหัวข้อมากกว่า overall scoring ซึ่งมี 36 หัวข้อ
2. ใช้ระดับการประเมินเป็นคะแนน 0-5 ในทุกหัวข้อ
3. มีคำอธิบายลักษณะการปฏิบัติสำหรับคะแนนแต่ละระดับตั้งแต่ 1-5 (0 คือไม่มีการปฏิบัติ)
4. EI3O (evaluation-improvement-innovation-integration-outcome) ยังคงใช้อยู่ แต่กระจายเข้าไปอยู่ในแต่ละหัวข้อของการประเมิน มิได้ประเมินในภาพรวมของมาตรฐานทั้งหมวด
- มีการปรับเพิ่มคะแนนให้กับการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบหรือการวัดเทียบเคียงกับองค์กรอื่น ให้ได้คะแนนมากกว่า 4 และอาจจะได้ 5 ถ้าแสดงให้เห็นว่ามีผลลัพธ์ที่ดีมาก
- การคิดคะแนนรวม สามารถนำคะแนนที่ปฏิบัติได้บางส่วนในแต่ละระดับมารวมกันได้ ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามระดับต้นให้ครบก่อนจึงจะสามารถพิจารณาระดับต่อไปได้
Score |
อุปมากับ ความสวย |
Approch |
Deploy- ment |
Result |
คำอธิบาย |
1 |
อยากสวย |
Beginning |
Some areas |
Limited |
เริ่มต้นพัฒนา จัดตั้งทีม การพัฒนาเน้นที่ โครงสร้าง การออกแบบระบบและคู่มือ มี ลักษณะตั้งรับปัญหา |
2 |
แนวโน้ม จะสวย |
Partially met |
Some Key Areas |
Fair |
มีการนำกระบวนการที่ดีไปสู่การปฏิบัติด้วย ความเข้าใจแต่ยังมีเรื่องสำคัญที่ต้องปรับปรุง |
3 |
สวยเฉลี่ย |
Met Average |
Many Key Areas |
Good |
การปฏิบัติส่งผลให้บรรลุเป้าหมายของมาตรฐาน เหมาะสมกับบริบท เริ่มมีการประเมิน เชิงคุณภาพ |
4 |
สวยวัน สวยคืน
|
Systematic & Integrated |
Most Key Areas |
Very Good |
กระบวนการมีความโดดเด่น มีบูรณาการ เริ่มมีการประเมินผลเชิงปริมาณ ผลลัพธ์อยู่ใน เกณฑ์สูงกว่าเฉลี่ย
|
5 |
สวย สุดยอด |
Role model |
All areas |
Excellent |
เป็น role model มีวัฒนธรรมของการเรียนรู้ และพัฒนา มีการประเมินและปรับปรุงอย่าง เป็นระบบหรือการวัดเทียบเคียงกับองค์กรอื่น ผลลัพธ์อยู่ในเกณฑ์ดีเลิศ |
ระบบการให้คะแนนที่หลากหลาย
Scoring ที่ง่ายที่สุด คือการประเมินว่าปฏิบัติตามมาตรฐานได้ครบถ้วน (met) หรือไม่มีการปฏิบัติตามมาตรฐาน (not met) และอาจจะมีกลางๆ ที่เรียกว่าปฏิบัติตามมาตรฐานได้บางส่วน (partially met)
Scoring ที่ซับซ้อนที่สุด คือระบบของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ MBNQA/TQA ซึ่งจะให้คะแนนเป็น % ตั้งแต่ 0-100% ในแต่ละหัวข้อ (Item) หรือบทใหญ่ๆ ของเกณฑ์ แนวทางการประเมินจะพิจารณาในมิติต่างๆ คือ ADLI (approach-deployment-learning-integration) สำหรับเกณฑ์ส่วนที่เป็นกระบวนการ และ LeTCI (level-trend-comparison-integration) สำหรับเกณฑ์ส่วนที่เป็นผลลัพธ์ ในแต่ละมิติจะมีแนวทางให้คะแนนโดยกำหนดออกมาเป็น band ทั้งหมด
6 band ซึ่งแต่ละ band ห่างกัน 20% ให้ผู้ตรวจประเมินเลือก band ก่อนแล้วใช้ดุลยพินิจว่าจะอยู่ในช่วงบนหรือช่วงล่างของ band
ระบบที่ซับซ้อนน้อยลงมาอาจจะแบ่ง score เป็น 10 ระดับ 7 ระดับ หรือ 5 ระดับ
สรพ. เลือกใช้ score 5 ระดับ โดยยึดหลักการของ MBNQA แต่ทำให้ลดความซับซ้อนลง
ข้อมูลจาก คุณรัตนาภรณ์ บารมี ผู้จัดการฝ่ายคุณภาพ
ขอขอบคุณข้อมูลจากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)