- รวมโปรโมชั่น
- เวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสมอง
- การผ่าตัดส่องกล้องช่องท้อง
- การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า
- แผนกอายุรกรรม
- แผนกเวชปฏิบัติทั่วไป
- แผนกสูตินรีเวช
- แผนกศัลยกรรมและฉุกเฉิน
- แผนกศัลยกรรมกระดูก
- แผนกเด็ก
- แผนกจักษุ
- แผนกหู-คอ-จมูก
- แผนกวิสัญญี
- แผนกรังสีวิทยา
- แผนกผิวหนังและศูนย์ความงาม
- แผนกจิตเวช
- แผนกทันตกรรม
- แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู
การตามรอย
วันพุธที่ 30 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 542
คือการติดตามกระบวนการในระบบงานหรือการดูแลผู้ป่วย เพื่อรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทั้งในด้านบวกและด้านลบ ทั้งในส่วนที่เป็นกระบวนการและผลลัพธ์ โดยอาศัยสิ่งที่มีความชัดเจนที่สามารถติดตามได้
การตามรอยมักจะเน้นการเข้าไปในสถานที่ จริง ดูสถานการณ์จริง พูดคุยกับผู้เกี่ยวข้อง ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจครอบคลุมรวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลหรือออกแบบเก็บข้อมูลเพื่อตอบคำถามบางเรื่อง
เป้าหมายของการตามรอย
1. เพื่อรับรู้และยืนยันการปฏิบัติตามแนวทางที่ออกแบบไว้
2. เพื่อรับรู้ปัญหาในการปฏิบัติหรือโอกาสพัฒนาซึ่งจะนำไปสู่ การปรับปรุงมาตรการหรือแนวทางปฏิบัติให้มีความเหมาะสมและรัดกุมยิ่งขึ้น
3. เพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้อง และลดช่องว่างในเรื่องการสื่อสารระหว่างขั้นตอนต่างๆ
นโยบายของ สรพ.
1. ส่งเสริมให้สถานพยาบาลต่างๆ ใช้การตามรอยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพด้วยความเข้าใจและเหมาะสมกับสถานการณ์
2. ส่งเสริมให้ผู้เยี่ยมสำรวจใช้การตามรอยเพื่อสร้างการเรียนรู้กับทีมงานของสถานพยาบาล
ลักษณะและเป้าหมายของการตามรอย
การตามรอยสามารถนำไปใช้กับระดับหน่วยงาน การดูแลผู้ป่วย ระบบงาน และทั้งองค์กรได้ โดยมีลักษณะและเป้าหมายของการตามรอยแต่ละเรื่องดังนี้
ระดับ |
ลักษณะและเป้าหมายของการตามรอย |
หน่วยงาน |
ตามรอย 3P ระดับหน่วยงาน ดูการบรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน |
การดูแลผู้ป่วย |
ตามรอยอุบัติการณ์ดูความรัดกุมของการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน |
|
ตามรอย SIMPLE ดูการปฏิบัติตาม evidence-basedguideline |
|
ตามรอยทางคลินิก ดูกระบวนการและผลลัพธ์ในภาพรวมของการดูแลผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม |
|
ตามรอยผู้ป่วยแต่ละราย ดูคุณภาพ ความปลอดภัยในแต่ละขั้นตอน และการสื่อสารระหว่างขั้นตอน |
ระบบงาน/องค์กร |
ตามรอยมาตรฐาน ดูการปฏิบัติตามแนวทางในมาตรฐานและSPA |
|
ตามรอย 3P ระดับองค์กร ดูการบรรลุเป้าหมายในแผนกลยุทธ์ |
|
ตามรอยการประเมินตนเองยืนยันสิ่งที่ตอบในรายงานการประเมินตนเอง |
การวางแผนเพื่อการตามรอย
การตามรอยในลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมา มีแนวทางในการวางแผนเพื่อการตามรอยคล้ายคลึงกัน ดังต่อไปนี้
1.Purpose ทำความเข้าใจกับเป้าหมายของเรื่องที่จะตามรอย เช่น เป้าหมายของหน่วยงาน เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยแต่ ละโรค เป้าหมายของมาตรฐาน เป้าหมายขององค์กร
2.Pathway กำหนดสิ่งที่จะใช้ติดตาม และวิเคราะห์เส้นทางที่จะตามรอย
3.Process: normal วางแผนตามรอยวิธีการทำงานในยามปกติ รวมทั้งการสื่อสารและส่งมอบระหว่างขั้นตอนต่างๆ
4.Preparedness วางแผนตามรอยการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ไม่ปกติ เช่น กลุ่มผู้ป่วยที่มีความเฉพาะช่วงเวลาบางช่วง สิ่งแวดล้อมที่ไม่พร้อมหรือไม่เป็นไปตามคาด อุบัติการณ์ที่เคยเกิดขึ้น
5.Performance-Learning เรียนรู้ภาพรวมของผลงานในเรื่องนั้นๆ โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลรอบด้าน
เตรียมพาผู้เยี่ยมสำรวจตามรอยทางคลินิก
แนวทางต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับทีมดูแลผู้ป่วยซึ่งได้จัดทำ clinical tracer highlight ขึ้นในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน โดยจะขอให้เพื่อนซึ่งอยู่นอกทีมซึ่งไม่รู้เนื้อหาในเรื่องนั้นมากนัก ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้อ่านทั่วไปที่จะช่วยเติมเต็มให้กับเพื่อน ศึกษาข้อมูลและตั้งคำถามในแง่มุมต่างๆ
วิธีการพิจารณาให้ใช้ความรู้สึกรวบยอดหรือความรู้สึกรวมๆ เป็นหลักนำ ตามด้วยการมองลงไปในองค์ประกอบย่อยต่างๆ อย่างเป็นระบบ (คือดูทั้งองค์ประกอบ และดูทั้งความสัมพันธ์เชื่อมโยง)
1.เริ่มต้น scan เอกสารอย่างรวดเร็ว เพื่อหาว่าคุณค่าหรือประเด็นสำคัญของการดูแลผู้ป่วยในโรคนี้มีอะไรบ้าง ระบุ key word เป็นข้อๆ ไว้ในใจ หัวข้อเหล่านี้อาจจะได้นำมาใช้ประโยชน์ในการจำแนกองค์ประกอบย่อย อาจจะเพิ่มเติมคุณค่าหรือประเด็นสำคัญจากความรู้ที่เรามีอยู่ หรือจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ป่วยและครอบครัว
2.ใคร่ครวญว่าถ้าจะรับรู้คุณค่าดังกล่าว จะรับรู้ได้อย่างไรด้วยวิธีที่ง่ายและตรงประเด็นที่สุด (อาจจะเป็นตัวชี้วัดหรือเรื่องเล่าหรืออื่นๆ) แล้วไปดูตัวชี้วัดที่นำเสนอไว้ว่าตรงกับที่เราคาดไว้หรือไม่ ครอบคลุมครบถ้วนหรือไม่ ควรจะเพิ่มตัวชี้วัดอะไร ควรจะเพิ่มการประเมินคุณค่าด้วยวิธีใด
3.เลือกจุดที่ เป็นความเสี่ยงสำคัญที่ สุด 1-2 ประเด็นในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ พิจารณาว่าทีมงานออกแบบระบบอย่างไรเพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว เป็นการออกแบบที่รัดกุมเพียงใด มีโอกาสเกิดช่องโหว่ขึ้นได้ในสถานการณ์อย่างไรบ้าง ถ้าจะอุดช่องโหว่เหล่านั้นควรทำอย่างไร
4.พิจารณาว่าทีมงานได้นำ scientific evidence มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยในขั้นตอนใดบ้าง มีวิธีการอย่างไรเพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตาม ผลลัพธ์เป็นอย่างไร ตรงจุดไหนที่ทีมควรไปทบทวน evidence เพิ่มเติม
5.พิจารณาตลอดสายธารแห่งคุณค่า (value stream) ของการดูแลผู้ป่วย มีขั้นตอนใดบ้างที่มีข้อสงสัยว่าอาจจะมีความสูญเปล่าในการดูแลผู้ป่วย จะรับรู้ความสูญเปล่านั้นได้อย่างไร มีโอกาสพัฒนาอย่างไร
6.เราจะช่วยเพื่อนของเราวางแผนนำผู้เยี่ยมสำรวจไปชมระบบการดูแลผู้ป่วยโรคนี้ เราจะพาผู้เยี่ยมสำรวจไปชมอะไรบ้าง ให้ผู้เยี่ยมสำรวจได้เห็น
- คุณภาพ ความปลอดภัย ความรัดกุมของระบบงานที่เพื่อนของเราวางไว้
- ความประณีต การคำนึงถึงหลัก Human Factor Engineering หรือความคิดสร้างสรรค์
- การใช้ core values ที่เด่นชัดในเรื่องนี้
- การคำนึงถึงความเบี่ยงเบนหรือความไม่แน่นอนในสถานการณ์ต่างๆ การแสดงถึงหลักฐานของการปฏิบัติ
- การแสดงถึงการวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมของการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้
ข้อมูลจาก คุณรัตนาภรณ์ บารมี ผู้จัดการ ฝ่ายคุณภาพ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)